ผลการฝึกตารางเก้าช่องผสมผสานกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะที่มีต่อทักษะความคล่องแคล่วว่องไวของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับประถมศึกษา

Main Article Content

วิยะดา คำลาพิศ
อรชุลี นิราศรพ
วรัญญู เถนว้อง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการฝึกตารางเก้าช่องผสมผสานกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะที่มีต่อทักษะความคล่องแคล่วว่องไวของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับประถมศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกตารางเก้าช่องผสมผสานกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะที่มีต่อทักษะความคล่องแคล่วว่องไวของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับประถมศึกษาระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โครงการศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 15 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการฝึกตารางเก้าช่องผสมผสานกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะและแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความคล่องแคล่วงว่องไว รายการการวิ่งอ้อมหลัก (Zig-Zag Run)  โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ตรวจสอบความสอดคล้อง (IOC) ชุดการฝึกตารางเก้าช่องผสมผสานกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ มีค่าระหว่าง 0.8 - 1.0 และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความคล่องแคล่วงว่องไว รายการการวิ่งอ้อมหลัก (Zig-Zag Run) มีค่าความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.0 และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความคล่องแคล่วงว่องไว รายการการวิ่งอ้อมหลักมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.81 และมีค่าความเที่ยงตรง (Validity) เท่ากับ 1.0 ดำเนินการฝึกกลุ่มตัวอย่างด้วยชุดการฝึกตารางเก้าช่องผสมผสานกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ สัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เป็นเวลา 4 สัปดาห์ รวมทั้งหมด 16 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ The Wilcoxon Matched - Pairs Signed-Ranks Test
          ผลการวิจัย พบว่า 1.ผลการฝึกตารางเก้าช่องผสมผสานกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับประถมศึกษาพบว่า นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่ได้รับการฝึกมีทักษะความคล่องแคล่วว่องไวที่สูงขึ้น
          2. ผลการเปรียบเทียบการฝึกตารางเก้าช่องผสมผสานกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับประถมศึกษา ระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลองพบว่า หลังการทดลองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษมีทักษะความคล่องแคล่วว่องไวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


         


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2552). ตาราง 9 ช่องกับการพัฒนาสมอง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สินธนากอปปี้เซ็นเตอร์.

เจริญ กระบวนรัตน์และสาลี่ สุภาภรณ์. (2555). การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนักเรียนออทิสติกให้ดีขึ้นโดยการฝึกตารางเก้าช่อง. วารสารคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 15 (1), 25-38.

ดำรัส ดาราศักดิ์. (2557). การออกกำลังกายสำหรับบุคคลกลุ่มพิเศษ. เอกสารประกอบการสอน

วิชา 114422 Exercise for Special Pppulations. นครราชสีมา; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

มนเฑียร อยู่เย็น. (2565). ผลการฝึกตารางเก้าช่องประกอบเพลงที่มีต่อการทรงตัวและความคล่องตัวของเด็ก ที่มีความต้องการพิเศษแบบเรียนร่วม. Academic Journal of Thailand National Sports University. 14 (3), 241-252.

นวรัตน์ หัสดี. (2559). การสอนพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ. วารสารครุศาสตร์. 44 (2), 259-269.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). สถิติวิทยาทางการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ลักขณา แจ่มจันทรา. (2558). โครงการศูนย์กล้ามเนื้อและพัฒนาการเด็ก. สาขาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วัชรินทร์ เลิศนอก. (2560). ผลของการฝึกตารางเก้าช่องที่มีต่อทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานของ นักเรียน กลุ่มบกพร่องทางการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันการพลศึกษา.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2561). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอนและการวัด เพื่อประเมินผลทางการพลศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2564). หาแนวทางส่งเสริมสุขภาพเด็กช่วงเรียออนไลน์ ช่วยพัฒนาร่างกายและสมอง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.thaihealth.or.th/หาแนวทางส่งเสริมสุขภาพ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาฯ ลาดพร้าว.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตราฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทย อายุ 7-18 ปี. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.