การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่ โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการการบริหารงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) 2) เพื่อพัฒนาและประเมินการบริหารงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) ที่มีประสิทธิภาพ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการทำวิจัย สำหรับครูโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านหนองม่วง) ๔) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการเรียนใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) โดยมีขั้นตอนดำเนินการ 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการการบริหารงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูสอน จำนวน 30 คน ผู้เชี่ยวชาญ ในการประเมินความต้องการจำเป็น จำนวน 9 คน ขั้นการสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน ระยะที่ 2 พัฒนาและสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) ที่มีประสิทธิภาพ ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการทำวิจัย สำหรับครูโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) จำนวน 30 คน ระยะที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการเรียนใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านหนองม่วง) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) จำนวน 30 คน แบบประเมินคุณภาพโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน แบบบันทึกผลประเมินภายนอก แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ตามมาตรฐานการวิจัย และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ดัชนี การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
1. ผลการวิจัย มีดังนี้ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการการบริหารงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง)
1.1 ผลการศึกษาบริบทจุดเด่นจุดด้อย จุดแข็งและจุดอ่อนของโรงเรียนพบว่าโรงเรียนมีจุดเด่นในด้านคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานเกี่ยวกับสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขนิสัย และการมีสุนทรียภาพและการเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะพึ่งประสงค์ของเด็กไทย แต่มีจุดด้อยในเรื่องการแสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองและการมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ การมีทักษะกระบวนการคิด การมี ความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรแต่ละสาระ ทักษะทางด้านวิจัย ทักษะการผลิตสื่อนวัตกรรม และทักษะความสามารถในการทำงานอย่างมีระบบ และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ส่วนจุดแข็งหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการศึกษามี 2 ปัจจัย คือ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ส่วนจุดอ่อน คือ ขาดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการนำทักษะกระบวนการวิจัยมาพัฒนาการศึกษา และหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น
1.2 ผลการศึกษาวิเคราะห์ความต้องการวิชาการการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) ที่สังเคราะห์จากเอกสารแนวคิดทฤษฎี พบว่าโรงเรียนมีความต้องการจำเป็นในวิชาการการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) ทั้งโดยภาพรวมและรายองค์ประกอบทุกองค์ประกอบ โดยมีความต้องการจำเป็นสูงสุดในด้านการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายในโรงเรียน และการใช้ความรู้จากการวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความต้องการจำเป็นในการใช้การวิจัยเป็นฐานในโรงเรียนมี 4 ประการ คือ 1) ความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการผลิตนวัตกรรมและการวิจัย 2) ขาดความตระหนักในกิจกรรมการจัดการเรียนรู้และพัฒนา 3) งานวิชาการเป็นภาระที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน 4) โครงสร้างการบริหารไม่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน แนวทางในการตอบสนองความต้องการจำเป็นที่สำคัญมี 4 ประการ คือ 1) การสร้างความร่วมแรงร่วมใจเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ 2) การปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ทางการศึกษาการวิจัยและการพัฒนางานวิชาการ และ 3) การเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ให้ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีนิสัยในการเรียนรู้ มีทักษะกระบวนการคิด มีความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการรู้ตามหลักสูรแต่ละสาระ และมีทักษะความสามารถในการทำนอย่างเย็นระบบ และพัฒนาตนเอง และ 4) การบูรณาการานประกันคุณภาพภายในเข้ากับการบริหารจัดการหลักสูตรการการสอน
2. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) ประกอบด้วยหลักการ แนวคิดพื้นฐานของรูปแบบ จุดมุ่งหมายของรูปแบบ และขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการ 2) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้านการวิจัย 3) การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา 4) "กระบวนการเรียนรู้และคุณภาพการศึกษาทั้งระบบโดยใช้การวิชัยปฏิบัติการ และ 5) การประเมินมาตรฐานและใช้ผลพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
3. ผลประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยของคุณภาพก่อนพัฒนาหารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) เท่ากับ 19.94 และคะแนนเฉลี่ยของคุณภาพโดยภาพรวมหลังจากใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) เท่ากับ 29.71 และมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.03 ซึ่งหมายความว่า รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) ทำให้ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) มีประสิทธิผลระดับมากที่สุด
4. ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องกับการใช้ต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) ปรากฎว่าผู้ใช้รูปแบบในโรงเรียนที่จัดการศึกษามีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อประโยชน์และความถูกต้องของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการแนวใหม่โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) ระดับมากที่สุด
Article Details
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช. 2542
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546ก). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การค้ารับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยคณะกรรมการ-สถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2543. ม.ป.ท.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2540). การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.
จิตติมา ธมชยากร. (2553). การบริหารงานทั่วไปของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2550). ทฤษฎีองค์กรสมัยใหม่ : Modern organization theory. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธนากร อาทะเดช. (2551). คุณลักษณะสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลาพูนเขต 2. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธวัชชัย บารุงยศ. (2550). การจัดทำแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
ธีระ รุญเจริญ. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายแผน และมาตรฐาน
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานนคร: สุวีริยาสาส์น.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. (2552). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสาหรับการวิจัย. กรุงเทพมหา นคร: B&B Publishing.