สมรรถนะและประสิทธิภาพการทำงานที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการได้รับการจ้างงาน ตำแหน่งเชฟบนเรือสำราญในประเทศไทย

Main Article Content

สรายุทธ ชัยเลื่องลือ

บทคัดย่อ

            การศึกษาสมรรถนะและประสิทธิภาพการทำงานที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการได้รับการจ้างงานตำแหน่งเชฟบนเรือสำราญในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะในการทำงานของเชฟบนเรือสำราญในประเทศไทย 2) ศึกษาประสิทธิภาพในการทำงานของเชฟบนเรือสำราญ 3) ศึกษาความเชื่อมั่นในการถูกจ้างงานตำแหน่งเชฟบนเรือสำราญในประเทศไทย 4) วิเคราะห์เส้นทางสมรรถนะและประสิทธิภาพการทำงานที่ส่งผลต่อ ความเชื่อมั่นในการได้รับการถูกจ้างงานตำแหน่งเชฟบนเรือสำราญในประเทศไทย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่ทำงานเป็นเชฟอยู่ในประเทศไทย จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจเรือสำราญในประเทศไทยและธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งเชฟในประเทศไทย ควรให้ความสำคัญกับตัวแปร/ปัจจัย (สมรรถนะทางความรู้ทางวิชาการ, ทักษะการทำงาน, บุคลิกภาพ, เทคนิค, ประสิทธิภาพในการทำงาน,  คุณภาพของงาน, ปริมาณงาน, เวลาการทำงาน, วัตถุดิบ และอุปกรณ์) เพราะตัวแปร/ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อความเชื่อมั่นในการถูกจ้างงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ทำอย่างไรประเทศไทยจะใช้ ศักยภาพของภาคบริการได้เต็มที่?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/127301.

กรมอาเซียน. (2556). ASEAN Mini Book. กรุงเทพมหานคร: กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพร ฉายประเสริฐ, นิธิมา ยืนยง และ พงศ์ธวัช จันทบูลย์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนัก งานโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 11 (25), 117-118.

ปริญญา นาคปฐมและคณะ. (2562). การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 27 (54), 246-273.

พีรญา ชื่นวงศ์. (2560). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษา ธุรกิจการขนส่งในจังหวัดเชียงราย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 4 (2), 92-100.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2551). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency­ based leaning. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: คิริวัฒนาอินเตอร์พร้นท์.

สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

สายบัว คงหาญ. (2565). สมรรถนะที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครินทร์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2564). กรอบการระดมความเห็นกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.),

อัครเดช ไม้จันทร์และนุจรีย์ แซ่จิว. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสานการผลิตในจังหวัดสงขลา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 5 (1), 95-121.

อนุชา กาญจนกุลไพศาล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงงานผลิตยาองค์การเภสัชกรรม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อรธิดา ปีนเจริญ. (2563). สมรรถนะหลักกลุ่มผู้ปฏิบัติงานของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด. วิทยานิพนธ์ศิลปะสาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เอกพล วงศ์เสรี. (2557). การพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจบริการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับประชาคมอาเซียน กรณีศึกษา กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน : ระนองพังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง. งานวิจัยสาขาวิทยาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

Froyen, R. T. (2001). Macroeconomic theories & policies. Bangkok: Pearson Education Indochina Ltd.

Jiang, J. Y., & Liu, C.W. (2015). High Performance Work Systems and Organizational Effectiveness : The Mediating Role of Social Capital. Human Resource

Management Review. 25 (1), 126-137.

Schmidt, A. and C. Kunzmann. (2021). Towards a Human Resource Development Ontology for Combining Competence Management and Technology-Enhanced Workplace Learning. Online. Accessed 14 March 2021. Available from: http://dx.doi.org//10. 1007/11915072_109.