โนราจังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาโนราจังหวัดตรัง” ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอองค์ความรู้ด้านประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม และบริบทที่เกี่ยวข้องกับโนราจังหวัดตรัง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า สายตระกูลโนราที่สำคัญของจังหวัดตรัง มีทั้งหมด 6 สาย ความเชื่อเกี่ยวกับครูหมอโนราในจังหวัดตรัง พบว่า นอกจากมีความเชื่อในเทพเจ้า พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม และพระภูมิเจ้าที่แล้ว ยังมีความเชื่อต่อเทพเทวดาองค์อื่นๆ มีการเคารพนับถือพระพุทธเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่น รายชื่อของครูหมอโนราบุรพาจารย์หรือครูต้นโนรานั้น มีรายชื่อมากมายกว่า 12 องค์ ท่ารำโนรา “ท่าครู” ของโนราจังหวัดตรังแต่ละสายคณะ มีท่ารำบางท่าที่เหมือนกันและต่างกัน มีทั้งท่ารำที่เป็นแม่ท่าหลัก และท่ารำที่ตีจากบทโนราที่สืบทอดต่อกันมา การถ่ายทอดภูมิปัญญาการแสดงโนราเป็นแบบ “มุขปาฐะ” เครื่องแต่งกายในการแสดงโนรา มีการแต่งกายตามลำดับสถานภาพตามศักดิ์ในการสืบทอดเชื้อสายโนรา แต่งกายตามบทบาทในการแสดงโนรา และแต่งกายตามตำแหน่งหน้าที่ในคณะ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงโนราในปัจจุบัน ยังคงใช้เครื่องดนตรีโนราแบบโบราณดั้งเดิม และมีการนำเครื่องดนตรีอื่นๆเข้ามาใช้ร่วมบรรเลงด้วย ดนตรีโนราที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงรำท่า มีจังหวะหน้าทับหลักที่เรียกว่า “จังหวะเพลงโค” ดนตรีโนราที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงรำนาด มีจังหวะหน้าทับหลักที่เรียกว่า “จังหวะเทงตุ้ง หรือ เทิงตุ้ง” สำหรับการรำนาดช้า และจังหวะหน้าทับ “จังหวะนาดเร็ว” สำหรับการรำนาดเร็ว ส่วนแนวทำนองเพลงจะใช้ ปี่ คีย์บอร์ด และซอ เล่นบรรเลงดำเนินทำนอง โดยจะนำเอาเฉพาะท่อนเพลงที่สำคัญเป็นที่รู้จักของเพลงนั้นๆมาบรรเลง ได้แก่ เพลงไทยเดิม เพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง เพลงพื้นบ้าน และเพลงเพื่อชีวิต
Article Details
References
ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์. (2547). สมญานามของโนรา. วารสารสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ. 3 (1), 28-35.
ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์. (2559). ศิลปะการแสดง : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระราชูปถัมภ์
บุษกร บิณฑสันต์. (2554). ดนตรีภาคใต้ : ศิลปิน การถ่ายทอดความรู้ พิธีกรรม และความเชื่อ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสิทธิ์ รัตนมณี. (2550). โนราโรงครู คณะ “เฉลิมศิลป์” : ภูมิปัญญาการเหยียบเสน. วารสารรูสมิแล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 28 (3). 7
อุดม หนูทอง. (2536). โนรา. สงขลา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.