การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่องค์การสมรรถนะสูงของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร*

Main Article Content

มลิวรรณ สีสัน
พีรพงศ์ ทิพนาค
พรเทพ เมืองแมน

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของคณะพยาบาลศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานคร และศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการของคณะพยาบาลศาสตร์สู่ความเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูง ดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาเชิงคุณภาพและการศึกษาเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามแบบประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยการรับรู้และการปฏิบัติงานจริง สถิติ One Sample T test 
           การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เน้นศึกษาสภาพการบริหารจัดการสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาที่มีประสบการณ์บริหารจัดการคณะพยาบาลศาสตร์อย่างน้อย 10 ปี ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้อจำกัดของการพัฒนาได้แก่ การบริหารจัดการทางการเงิน การจัดสรรทรัพยากร และความคาดหวังของสังคม (2) มิติการบริหารจัดการ เรียงตามลำดับความสำคัญได้แก่ 1) การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ 2) ภาวะผู้นำผู้บริหาร 3) การจัดการความรู้ 4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 5) การจัดการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยี และ 6) วัฒนธรรมองค์กร จากนั้นผู้วิจัยได้นำผลการศึกษาสร้างแบบสอบถามประมาณ และเก็บข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานจริงในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน 234 คน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรให้ความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่องค์การสมรรถนะสูงในระดับมากที่สุด ส่วนการรับรู้ต่อการดำเนินการบริหารจัดการอยู่ในระดับมาก โดยการให้ความสำคัญและการดำเนินการบริหารจัดการองค์การมีการรับรู้สูงกว่าเกณฑ์ 3.5 ที่ตั้งทุกมิติ ระยะที่ 2 ทำการศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ามิติการพัฒนาที่มีความเฉพาะเจาะจงในคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเอกชน ได้แก่ มิติที่ 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ควรมีการสรรหาบุคลากร การพัฒนาบุคคลากร การประเมินผลงานที่มีประสิทธิภาพ และการรักษาบุคลากร มิติที่ 2 ภาวะผู้นำผู้บริหาร ควรมีการสรรหาหรือการพัฒนาผู้นำที่มีภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม และภาวะผู้นำเชิงการบริหารจัดการ มิติที่ 3 การจัดการการเรียนรู้ แนวทางการพัฒนาประกอบด้วย 1) กำหนดทิศทางและเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ 2) การสร้าง กลั่นกรองความรู้ให้คงไว้กับองค์การ 3) การแลกเปลี่ยนและการถ่ายทอดความรู้      มิติที่ 4 การปฏิบัติงานสู่องค์การสมรรถนะสูง โดยพัฒนาด้านงานวิจัยสร้างผลงานเผยแพร่ในวารสารที่มีชื่อเสียงและตอบสนองต่อสังคม พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน และ การบริการวิชาการทั้งภายในและภายนอกงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาองค์กรทางด้านการบริหารจัดการในคณะพยาบาลศาสตร์และองค์กรที่คล้ายคลึงกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). สุดยอดภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซสมีเดีย.

ศุภลักษณ์ เศษธะพานิช. (2550). การพัฒนาระบบการบริหารที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2558). ผลการประเมินคุณภาพภายนอก. ออนไลน์. Retrieved from http://www.onesqa.or.th/th/index.php

Akdemir, B., Erdem, O., & Polat, S. (2010). Characteristics of high-performance organizations. The Journal of Faculty of Economics and Administrative Sciences, 15 (1), 155-174.

Altbach, P. G., & Salmi, J. (Eds.). (2011). The road to academic excellence: The making of world-class research universities. The World Bank, Washington DC. ISBN: 978-0-8213-8805-1.

Bhalla, V., Caye, J. M., Dyer, A., Dymond, L., Morieux, Y., & Orlander, P. (2012). High-Performance Organizations. Own the Future: 50 Ways to Win from the Boston Consulting Group, 171-177.

Bvumbwe, T. (2016). Enhancing nursing education via academic -clinical partnership: An integrative review. International Journal of Nursing Sciences, 3, 314–322. https://doi.org/10.1016/j.ijnss.2016.07.002

Campbell, M. H. (2003). Leadership Styles of Successful Tribal College Presidents (Doctoral Dissertation). Available from ProQuest Dissertations and Theses Database. (305310568).

Cummings, G. G., Midodzi, W. K., Wong, C. A., & Estabrooks, C. A. (2010). The contribution of hospital nursing leadership styles to 30-day patient mortality. Nursing Research, 59(5), 331-339. doi:10.1097/NNR.0b013e3181ed74d5.4

EFQM. (2010). The European Foundation for Quality Management Excellence Model. Retrieved October 9, 2010, from http://www.efqm.org/en/

Fawaz, M., Hamdan-Mansour, A.M., & Tassi, A. (2018). Challenges facing nursing education in the advanced healthcare environment. International Journal of Africa Nursing Sciences, 9, 105-110. https://doi.10.1016/j.ijans.2018.10.005

Fischer SA. Transformational leadership in nursing: a concept analysis. J Adv Nurs. 2016 Nov;72(11):2644-2653. doi: 10.1111/jan.13049. Epub 2016 Jul 26. PMID: 27322510.

Fischer, S. A. (2017). Transformational Leadership in Nursing Education: Making the Case. Nursing Science Quarterly, 30(2), 124-128. doi:10.1177/0894318417693309.

Fuller, S. (2018). Knowledge management foundations. Routledge. 1st Edition. http://doi:10.4324/9780080495996.

Fulston Schools. (n.d.). (2012). Excellence Model. Retrieved from http://www.fulschool.org/prodev/leadership/model.html

Gerdruang, A., & Banchaphattanasakda, C. (2019). High Performing Organization Model in the Office of National Broadcasting and Telecommunication Commission (NBTC) of Thailand. Association of Private Higher Education Institutions of Thailand under the Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, 8(2), 44-63

Hitt, M. A., Bierman, L., Shimizu, K., & Kochhar, R. (2001). Direct and Moderating Effects of Human Capital on Strategy and Performance in Professional Service Firms: A Resource-Based Perspective. Academy of Management Journal, 44, 13-28. http://dx.doi.org/10.2307/3069334.

Marginson, S. (2016). The Dream is Over: The Crisis of Clark Kerr's California Idea of Higher Education. Berkeley, CA: University of California Press.

Mrayyan MT. Nurses' views of organizational readiness for change. Nurs Forum. 2020 Apr;55(2):83-91. doi: 10.1111/nuf.12393. Epub 2019 Sep 30. PMID: 31571258.

Salmi, J. (2009). The Challenge of Establishing World-Class Universities. Retrieved June 20, 2009, from http://www.copyright.com/

Silva, V. L., Camelo, S. H., Soares, M. I., Resck, Z. M., Chaves, L. D., Santos, F. C., & Leal, L. A. (2017). Leadership Practices in Hospital Nursing: A Self of Manager Nurses. Revista da Escola de Enfermagem da USP, 51, e03206. doi:10.1590/S1980-220X2016099503206.

Yuan, Z. (2013). Higher Education of Social Science, 4(3), 46-53. http://doi:10.3968/j.hess.1927024020130403.Z004.

Yukl, G. (2013). Leadership in organizations. Pearson Education India.