การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยเทคนิค SQ6R ร่วมกับ KWL Plus เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เทพสุดา แพงจันทร์ศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยเทคนิค SQ6R ร่วมกับ KWL Plus เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยเทคนิค SQ6R ร่วมกับ KWL Plus เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยเทคนิค SQ6R ร่วมกับ KWL Plus เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาล 1 กาฬสินธุ์พิทยาสิทธิ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1/2565 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบคุณภาพ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test


          ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบ ของผู้บริหาร ครูผู้สอนภาษาไทย และศึกษานิเทศก์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2. ผลการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ระบบสังคม  หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุน โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (  = 4.34, S.D.= 0.60) 3. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (E1/E2 = 82.98/83.23) และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (  = 4.39, S.D.= 0.56)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษกร วัฒนาวิจิตรกุล. (2566). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จุฬารัตน์ อินทร์อุดม และณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล. (2562). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับพลังคำถาม. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 12 (4), 195-212.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 7-20.

ดนิตา ดวงวิไล. (2565). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สำหรับครูภาษาไทย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปัญญาวิทย์ แจ่มกระจ่าง. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วีณา ประชากูล และประสาท เนืองเฉลิม. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2565). รายงานข้อค้นพบจากการทดสอบ O-NET ด้วยรูปแบบข้อสอบอัตนัย การใช้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานผลิตและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมิน สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพแนวทางสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล. กรุงเทพมหานคร: อินเตอร์เอ็ดดูเคชั่น ซัพพลายส์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.

สิริวรรณ ชัยชนะพีระกุล. (2564). การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีการสอนแบบพาโนรามา ร่วมกับหนังสือวรรณกรรมเยาวชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิค.

สุพรรณี ขาวงาม. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 16 (1), 70-78.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2560). สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). แพร่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแพร่

ไทยอุตสาหการพิมพ์.

อารีย์ ทองเพ็ง. (2556). ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี SQ6R ร่วมกับเทคนิค KWL ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในการอ่าน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Avila, M. (2010). Instructional Practices : SQ6R. Online. Retrieved from http://web.bcoe. org/minicorps/foreading//index.cfm? [Retrieved January 10, 2022].

Carr and Donna Ogle. (1987). K-W-L Plus: A Strategy for Comprehension and Summarization. Journal of Reading. 30 (7), 626-631. Engaged Participants. Ph.D. Thesis, University of Wisconsin-Madisopn.

Hyun, J. (2017). Students' Satisfaction on Their Learning Process in Active Learning and Traditional Classrooms. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education. 29 (1), 108-118.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E.. (2011). Model of Teaching. (9th ed). London: Ally n and Bacon.

Robinson, F.P. (1970). SQ3R: Effective study. 4th ed. New York: Harper & Row.

Strikwerda, A.W. (2018). How Teachers Use Active Learning to Position Students as

Suphanne, A. and Others. (2021). Enhancing English Reading Comprehension Ability by Using Active Learning. Dhammathas Academic Journal. 21 (4), 23-32.

Sweller, J. (2006). The worked example effect and human cognition: Learning and Instruction. New Jersey: Educational Technologies.

Williams, S. (2010). Grand Valley State University, Allendale, Michigan. Guiding Students Through The Jungle Of Research-Based Literature, 1-4.