การพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

Main Article Content

ธีรยุทธ เมืองแมน
ญาณิศา บุญจิตร์
มัทนียา พงศ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา 2) พัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา 3) ประเมินประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา เป็นการวิจัยและพัฒนา   มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาระบบ โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 469 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาระบบ โดยการสังเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บจากกลุ่มตัวอย่างมาใช้ยกร่างระบบแล้วตรวจสอบความเหมาะสม โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพ มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
           ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ความต้องการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1  ส่วนนำ ส่วนที่ 2 เนื้อหา ได้แก่ องค์ประกอบหลักของระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา และแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามกรอบของระบบเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา พบว่า ระบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร บุญกว้าง. (2559). การมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาของชุมชน กรณีศึกษา: โรงเรียนบ้านเหมือดขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 16 (1), 218-226.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2562). เรียนรู้สาธารณภัย ความปลอดภัยในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย.

กฤษฎา กัลปดี. (2559). การพัฒนาระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานทางวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กฤษฎา ศรีสุชาติ. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้และคู่มือโรงเรียนปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ดวงเดือน วินิจฉัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 13 (2), 143.

ไทยรัฐออนไลน์. (2565). ไทยรัฐ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www. thairath.co.th/news/local/northeast/2505601.

ธนัตถ์พร โคจรานนท์. (2562). การพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียนประถมศึกษาสู่องค์การสมรรถนะสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 4 (1), 176.

ประวีณา โภควนิช. (2559). แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาเรียนรวมระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประเสริฐศักดิ์ เหินไธสง. (2559). การพัฒนาระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ผู้จัดการออนไลน์. (2564, กุมภาพันธ์ 26). ข่าวภาคใต้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: https://mgronline.com/south/detail/9640000019236

เมตต์ เมตต์การุณจิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม : ประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2564). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. (2564). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2564.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: http://resource.

สุชีรา ใจหวัง. (2561). การศึกษาการจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Biggs, C.L., Birks, E.G. and Atkins, W. (1980). Managing the Systems Development Process. Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determination Size for Research Activities. Education and Psychology Measurement, 30(3) : 607 – 610.

Lunenberg, F.C. and Ornstein, A.C. (1996). Educational Administration : Concepts and Practices. 2nd ed. Belmont, CA : Wadsworth Publishing.

Schoderbek, P.P. et al. (1990). Management system : Consideration. Boston : Richard D. Irwin.