การศึกษากระบวนการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนของตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ยุวดี พ่วงรอด
ภาสกร ดอกจันทร์
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
อนุ เจริญวงศ์ระยับ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการ 2) เพื่อศึกษาเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์  เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 38 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ เป็นประธานกองทุนฯ จำนวน 1 คน เป็นคณะกรรมการกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า   6 ปี จำนวน 15 คน เป็นสมาชิกองทุนสวัสดิการชุมชน ไม่น้อยกว่า 6 ปี จำนวน 15 คน และเป็นผู้ที่มีความรู้   มีประสบการณ์เกี่ยวกับเครือข่ายทางสังคม ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 1 คน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน จำนวน 2 คน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 2 คน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ร่วมกับการประยุกต์ใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง และการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม ผลการวิจัยพบว่า
           1. กระบวนการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง หัวใจสำคัญต้องเริ่มจากบทบาทของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน ในการกระตุ้น ส่งเสริม ให้สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนในทุกกระบวนการ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล
          2. เครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง จากผลการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม พบว่า บทบาทเครือข่ายทางสังคมในการส่งเสริม สนับสนุนกลไกการทำงาน ด้านทรัพยากร มีรูปแบบของเครือข่ายเป็นแบบวงล้อหรือดาว ส่วนเครือข่ายทางสังคมที่เป็นดาวเด่น คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลเมืองอรัญญิก) เครือข่ายทางสังคมที่มีความเป็นศูนย์กลาง และมีความแข็งแรง คือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เครือข่ายทางสังคมที่มีความเป็นตัวกลาง คือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก มีค่าความหนาแน่น = 0.5

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2530). คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน. ในพระดุษฎี เมธงกุโร (บก.) และคณะ. ศาสนธรรมกับการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

สนธยา พลศรี. (2553). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

สำนักประสานเครือข่ายสวัสดิการชุมชน. (2565). คู่มือการดำเนินงาน โครงการสนับสนุน การจัดสวัสดิการชุมชน ปีงบประมาณ 2565. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และวลัยพร รัตนเศรษฐ. (2557). รัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2552). แปรถิ่น เปลี่ยนฐาน : สร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุดม สุวรรณพิมพ์ และเอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2561). ชุมชนท้องถิ่นไทยแนวใหม่กับรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. 4 (1), 1-16.

Brass, D. (1995). “A Social Network Perspectiveon Human Resources Management”. Personnel and Human Resources Management. 13, 39-79.

Cristina Mele, Jacqueline Pels, Francesco Polese. (2010). A Brief Review of Systems Theories and Their Managerial Applications. Service Science 2 (1-2), 126-135.

Mears, P. (1974). “Structuring Communication in a Working Group”. The Journal ofCommunication. 24, 71-79.

Wasserman, S. & Faust, K. (1994). Social network analysis: Methods andapplications. Cambridge, UK: Cambridge University Press. p.5-61.

William A. Pencak (2009). Encyclopedia of the Veteran in America. ABC-CLIO. p. 222.

Patton, W., & McMahon, M. (2006). The systems theory framework of career development and counseling: Connecting theory and practice. International Journal for the Advancement of Counselling. 28 (2), 153-166.