รูปแบบศักยภาพการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา วิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน

Main Article Content

จิรัชญา ศุขโภคา
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์
จันทนา แสนสุข

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของศักยภาพการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาองค์ประกอบและรูปแบบของศักยภาพในการจัดการการเปลี่ยนแปลงวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนเชิงประจักษ์ และอธิบายเสริมด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อช่วยอธิบายและยืนยันผลการวิจัยเชิงปริมาณให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการผลิตสินค้าที่ได้อนุมัติการจดทะเบียนปี 2563 มีจำนวน 31,070 แห่ง (กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน, 2564 : 1) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ (Hair, Black, Babin and Anderson, 2010 : 1) มีขนาดกลุ่มตัวอย่าง 320 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยใช้วิธีวิทยาแบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological Approach) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดีเด่นและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชน จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่าศักยภาพการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไคสแควร์ เท่ากับ 162.34 ที่องศาอิสระเท่ากับ 169 มีระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.50 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ มีค่าเท่ากับ 0.89 ค่า CFI เท่ากับ 1.01 ค่า NFI เท่ากับ 0.94 ค่า GFI เท่ากับ 0.94 ค่า AGFI เท่ากับ 0.92 และ ค่า RMSEA เท่ากับ 0.00

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิตสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพหมานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2564). การต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนปี 2563. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการเกษตร.

ธีรฉัตร เทียมทอง และเพ็ญณี แนรอท (2561). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขง บ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal). 7 (2), 245-265.

พัฒน์กมล อ่อนสำลี. (2564). การปรับตัวของวิสาหกิจชุมชนในสภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 23 (1), 195-206.

พวงเกษร วงค์อนุพรกูล. (2552). แนวทางการพัฒนาด้านการตลาดของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านวัดจันทร์พัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์หลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

นิศาชล เตจ๊ะขอด, กังสดาล กนกหงษ์, พหล ศักดิ์คะทัศน์, และพุฒิสรรค์ เครือคำ. (2563). บทบาทผู้นำในการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 37 (1), 84-93.

รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์, พินัย วิถีสวัสด์, จิรวรรณ เทพประสิทธ์, พิเชษฐ์ ภู่เฉลิมตระกูล, อุกฤษณ์ ชาวแพรก น้อย, และกุลประภัสสร์ รําพึงจิตต์. (2564). บทบาทขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการ สนับสนุนกลุ่มอาชีพ. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 6 (1), 448-463.

ศศิเพ็ญ พวงสายใจ. (2551). การวิจัยแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อการส่งออกของชุมชน กรณีศึกษากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันงา จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 1 (1), 46-55.

ศศิภา พิทักษ์ศานต์ (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ไปปฏิบัติ กรณีศึกษาอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์. 24 (3), 33-46.

อนันธิตรา ดอนบันเทา, ศิริพร โสมคำภา, และอนุธิดา เพชรพิมูล.(2560). แนวทางการพัฒนาธุรกิจผลิตภัณฑ์จากไม้สักของชุมชนของตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 4.กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

Denzin, N. (1970). The Research Art in Sociology. London: Butterworth.

Hair Jr., J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.F. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective, (7th ed.).New Jersey: Pearson Prentice Hall)

Likert, R. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.