การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนย่อความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เทพสุดา แพงจันทร์ศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนย่อความก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาล 1 กาฬสินธุ์พิทยาสิทธิ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2/2565 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนย่อความ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.71/86.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
           2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนย่อความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.=0.48)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 7-20.

นพดล จันทร์เพ็ญ. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อ.

นาฏอนงค์ จันทร์เขียว. (2558). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้การเรียนรู้แบบ SQ4R เรื่อง การอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์

กศ.ม. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

รัตนา ศิริลักษณ์. (2558). การพัฒนาบทเรียนที่ใช้กิจกรรมการละครเพื่อส่งเสริมทักษะฟัง-พูด สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติองค์การมหาชน. (2564). รายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: สมศ.

สุทิน ทองไสว. (2547). หนังสือยุคคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการ. 7 (4), 46-53.

สุพรรณี สุดสนธิ์. (2566). การพัฒนาทักษะการเขียนย่อความ โดยใช้กิจกรรมจัดการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพิชฌาย์ ปิ่นสันเทียะ. (2552). การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวกับการผลิตสื่อ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2.

อมรรัตน์ รัชตะทวีกุล. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัจฉริยาภรณ์ ว่องไว. (2563). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชนิดของคำไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. นครพนม: วิชาการโรงเรียนดงดาวแจ้งพัฒนศึกษา.

Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day. Washington DC: International Society for Technology in Education.

Elian, S. and Others. (2018). The Effect of Using Flipped Classroom Strategy on the Academic Achievement of Fourth Grade Students in Jordan. International Journal of Emerging Technologies in Learning (Online); Vienna, 13(2), 110-125.

Fitriani, F. and Others (2021). Blended learning based on ebook integrated Youtube in learning mathematics. Journal of Physics: Conference Series, 1806 (1). DOI:10.1088/1742-6596/1806/1/012065

Pearman, Cathy J. (2004). Effects of Electronic Text on the Independent Reading Comprehension of Second-ade Students. Dissertation Abstracts International. 64(07), 2427-A

Zhang, X. and Others. (2021). Teachers’ adoption of an open and interactive e-book for teaching K-12 students Artificial Intelligence: a mixed methods inquiry. Smart Learning Environments, 8(1). DOI:10.1186/s40561-021-00176-5