(Retracted Article) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดทุนมนุษย์และความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

Main Article Content

สรัญญา โยะหมาด
นิพัฒน์ โพธิ์วิจิตร
สมชัย ปราบรัตน์

บทคัดย่อ

         บทความนี้ยกเลิกเพราะเกิดการคาดเคลื่อนในการตีความเชิงวิชาการ


        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตัวชี้วัดทุนมนุษย์และความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในระหว่างปีพ.ศ. 2559 - 2563 จำนวน 88 ตัวอย่าง ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินและฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้วิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายลักษณะข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างและใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุในการทดสอบ ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
          ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง ทุนมนุษย์ ค่าความนิยม และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเติบโตของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าข้อมูลทุนมนุษย์ ค่าความนิยม และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ งบการเงินในการประเมินและคาดการณ์การเติบโตของบริษัท ดังนั้น บริษัทควรพิจารณาลงทุนในทุนมนุษย์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและธุรกิจอื่นเพื่อสร้างการเติบโตในองค์กรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าทุนมนุษย์ซึ่งเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อยู่นอกงบแสดงฐานะการเงินให้ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจต่อผู้ใช้งบการเงิน ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวจะเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ในการพัฒนามาตรฐานการรายงานทางการเงินต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. (2554). การจัดการทุนมนุษย์:กลยุทธ์ทางการแข่งขันที่ยั่งยืน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 10 (2), 1-6.

ประไพทิพย์ ลือพงษ์. (2555). การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะความสามารถในการแข่งขัน. วารสารนักบริหาร. 32 (4), 103-108.

วรลักษณ์ โรจนรัตน์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตนกับราคาหลักทรัพย์และกำไรในอนาคต ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย . วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินภา สุพรมอินทร์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานกิจการ: บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมบริการและกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี. สารนิพนธ์

บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภชัย ศรีสุชาติ. (2563). ตลาดหลักทรัพย์กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://econ.tu.ac.th/class/archan/Supachai/article/SET%26 Delopment. doc

สมจินตนา คุ้มภัย. (2553). การเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การ:กรณีศึกษา รัฐวิสาหกิจในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

โสภณ บุญถนอมวงศ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรและประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์. ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

American Accounting Association Committee of Accounting for Human Resources. (1973). Report of the Committee on Human Resource Accounting. The Accounting review Supplement. 48.

Becker, G. (1964). Human Capital: A Theoretical and empirical analysis, with special reference to education. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Gort, M. and Klepper, S. (1982) Time Paths in the Diffusion of Product Innovations. The Economic Journal. 92, 630- 653

Mumu, S., Susanto, S., & Gainau. P. (2019). The Sustainable Growth Rate and The Firm Performance: Case Study of Issuer at Indonesia Stock Exchange. International Journal of Management, IT & Engineering. 9 (12), 10-18.

Park, Won Joo. (2004). Human Capital & Economic Growth in Japan. Institute of Developing Economies Japan External Trade Organization.

Rahim, N. (2017). Sustainable Growth Rate and Firm Performance: a Case Study in Malaysia. International Journal of Management, Innovation & Entrepreneurial Research. 3 (2), 48.

Srimongkolpitak, S. and Phadoongsitthi, M. (2012). Factors affecting the level of voluntary disclosure of employee-related information. Journal of Accounting Profession. 21, 41–57.