พฤติกรรมการรับสื่อด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนสิงห์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

Main Article Content

กฤษณะพงษ์ พงษ์สัตยา
สตรีไทย พุ่มไม้
อรอนงค์ ผิวนิล
นพวรรณ เสมวิมล

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และความต้องการรับข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสิงห์บุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนสิงห์บุรี ปีการศึกษา 2565 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จำนวน 438 คน มาจากการคำนวณกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Yamane โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้ Google Form การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ผลการวิจัยพบว่า สื่อสังคมออนไลน์ที่นักเรียนชอบใช้งานมากที่สุด คือ  TikTok ร้อยละ 29 รองลงมา Instagram, Facebook, YouTube, Twitter, Line และ Google ร้อยละ 28.77, 18.04, 16.67, 3.42, 2.51 และ 0.45 ตามลำดับ มีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อความบันเทิงมากที่สุด ร้อยละ 50.23 รองลงมาเพื่อการสนทนาและเพื่อการสืบค้นข้อมูลร้อยละ 36.76 และ5.48 ตามลำดับ และพบว่า Line เป็นสื่อที่นักเรียนใช้งานมากที่สุด ร้อยละ 98.17 ของนักเรียนทั้งหมด โดยTikTok เป็นสื่อที่นักเรียนต้องการใช้ในการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยมากที่สุด ร้อยละ 30.59 รองลงมา YouTube, Facebook, Instagram, Line, twitter และ Google ร้อยละ 22.89, 22.37, 10.04, 5.02, 2.05 และ 0.25 ตามลำดับ
           ดังนั้นสรุปได้ว่าพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนสิงห์บุรี ชอบใช้ TikTok มีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง และมีความต้องการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยผ่าน TikTok มากที่สุด เหตุผลการตัดสินใจในการเปิดเข้าชมคลิปวีดิโอ ได้แก่ เนื้อหาสาระ ชื่อหัวข้อคลิปและภาพปกน่าสนใจเป็นเหตุผลสามอันดับแรกที่ทำให้นักเรียนเปิดเข้าชมคลิปวีดิโอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). การศึกษาระดับพฤติกรรมด้านการจัดการขยะของคนไทย (เล่ม 1). ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม เมษายน 2561.

ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์. (2552). กระบวนการสื่อสารของเครือข่ายสิ่งแวดล้อมกรณีภาวะโลกร้อนในกรุงเทพมหานคร. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 28 (2), 5-24

สุจิตรา กิตติศัพท์, เนตรชนก บัวนาค, และพีรวิชญ์ คำเจริญ. (2562). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคลากรโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7 (1). 120-132.

จารุภัค อธิวัฒน์ภิญโญ, มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย, และปีเตอร์ รุ่งเรือนกานต์. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และการธำรงรักษาของกลุ่มแฟนคลับนักร้องเกาหลีในประเทศไทย กรณีศึกษา ศิลปินวง GOT7. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7 (1). 220-229.

ประกายรัตน์ ภัทรธิติ. (2559). แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการของวัยรุ่น. เอกสารการสอน ชุดวิชาพัฒนาการวัยรุ่น (หน่วยที่ 2). นนทบุรี: สาขาวิชามนุษย์นิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อัญชุลี วงษ์บุญงาม. (2562). การเปิดรับสื่อและการแสวงหาความรู้ของนักศึกษาสื่อสารมวลชน. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Glover Shannon. (2017). New National Study Finds Gen Z is Smarter with Money than Millennials. Business Wire. Online. Retrieved May 04, 2017. from https://search.proquest.com/docview/1894860561?accountid=42455

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York.