การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาซึ่งแสดงออกผ่านการสื่อสารวิสัยทัศน์และกลยุทธ์สถานศึกษา การกำกับติดตามคุณภาพหลักสูตรและการสอน การสร้างและกระจายภาวะผู้นำร่วม ทั้งนี้พบว่า ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนปรากฏในหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูก่อนดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหากแต่ผลการปฏิรูปการศึกษาพบว่าผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนสูงขึ้นเล็กน้อย จึงอาจกล่าวได้ว่าการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาอาจไม่ตรงประเด็นหรือขาดความครบถ้วน ดังนั้นการศึกษาการวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เรียงลำดับองค์ประกอบโดยใช้ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ซึ่งมีตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางและขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 210 คน จากการกำหนดขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยง (Cronbach’s Alpha) .994 สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified) และ ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) และ สถิติที (t-test) ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา มี 3 องค์ประกอบ คือ 1.ความสามารถในการกำหนดวิสัยทัศน์สถานศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพหลักสูตรและการสอน 2. ความสามารถในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้วยการกำกับติดตามหลักสูตรและการสอน และ3. ความสามารถในการกระจายภาวะผู้นำ สร้างภาวะผู้นำร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน 2) ลำดับตามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาจากมากที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 2 (PNImodified = 0.40) ตามด้วย องค์ประกอบที่ 3 (PNImodified = 0.36) และ องค์ประกอบที่ 1 (PNImodified = 0.30) ตามลำดับ โดยปรากฏว่าองค์ประกอบที่ 2 ด้านความสามารถในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้วยการกำกับติดตามหลักสูตรและการสอนมีความจำเป็นในการพัฒนามากที่สุดซึ่งควรจะอยู่ในรูปแบบของหลักสูตรหรือกระบวนการพัฒนาวิชาชีพที่เป็นรูปธรรม
Article Details
References
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2565). สถิติทางการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565 แหล่งที่มา https://www.eef.or.th/contact/e-service/
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3). กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ดำรงค์ ตุ้มทอง. (2556). ปัญหาเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา : สถานการณ์ความไม่เสมอภาคในสังคมไทย. Journal of Humanities and Social Sciences. 10 (1), 123-141.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). 2557. การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เกิดความรับผิดชอบ. รายงานวิจัยเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมชาย พุทธโกสัย. (2555). คุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 2 กระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). นโยบายปีงบประมาณ พ.ศ.2560 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อภิชัย พันธเสน, หัวหน้าโครงการวิจัย (2558). การสังเคราะห์งานวิจัยว่าด้วยปัญหาและข้อเสนอแนะในกระบวนการจัดการศึกษาไทย: ประเด็นปัญหาคุณภาพการศึกษา (2535-2558): รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
อัจฉรา นิยมาภา (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดกรุงเทพมหานคร.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 24 (1), 50-63.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Erlbaum.
Concordia University. (2014). Four instructional Leadership skills principals need. online. Retrieved February 20,2021 from http://education.cu-portland.edu/blog/ed-leader ship/four-instructional- Leadership- skills- principals- need/
Hallinger, Philip & Lee, Moosung. (2013). Mapping instructional leadership in Thailand: Has education reform impacted principal practice. Educational Management Administration & Leadership. (42), 6-29.