การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ทางเลือกแบบเลือกตอบหลายตัวเลือก เรื่องอะตอมและตารางธาตุ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

นิธิศ ธงภักดิ์
วารุณี ลัภนโชคดี
พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ทางเลือก เรื่องอะตอมและตารางธาตุ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2) สร้างคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ทางเลือก กลุ่มตัวอย่างในการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี จำนวน 610 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (stratified random sampling) เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แบบทดสอบสำรวจมโนทัศน์ทางเลือก 2) แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ทางเลือก และ 3) คู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ทางเลือก การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบสำรวจมโนทัศน์ทางเลือก และระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ทางเลือก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบวินิจฉัยในด้านความตรงตามเนื้อหา ความยาก อำนาจจำแนก ประสิทธิภาพตัวลวง และความเที่ยง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
          1. แบบทดสอบสำรวจมโนทัศน์ทางเลือก เรื่องอะตอมและตารางธาตุ มีลักษณะเป็นแบบเขียนตอบ (short answer) แบบเติมคำ (completion) และแบบจับคู่ (matching) จำนวน 86 ข้อ พบว่ามีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (IOC) ตั้งแต่ 0.60 – 1.00 ซึ่งข้อสอบทุกข้อมีความตรงตามเนื้อหา
          2. แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ทางเลือกที่สร้างขึ้นจำนวน 4 ฉบับ รวม 50 ข้อ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 ธาตุและสารประกอบ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 – 1.00 ค่าความยากตั้งแต่ 0.38 – 0.61 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.36 – 0.65 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.79 ฉบับที่ 2 แบบจำลองอะตอมและเวเลนซ์อิเล็กตรอน มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 – 1.00 ค่าความยากตั้งแต่ 0.28 – 0.63 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.24 – 0.54 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 ฉบับที่ 3 สัญลักษณ์นิวเคลียร์และไอโซโทป มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 – 1.00 ค่าความยากตั้งแต่ 0.44 – 0.64 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.34 – 0.71 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 และฉบับที่ 4 ตารางธาตุและสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 – 1.00 ค่าความยากตั้งแต่ 0.46 – 0.60 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.53 – 0.66 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 คู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ทางเลือก มีการกำหนดสาระสำคัญที่ครบถ้วน อ่านเข้าใจง่ายและสามารถใช้เป็นแนวทางในการนำแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ทางเลือกที่สร้างขึ้นไปใช้ได้
          3. ผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ทางเลือกเรื่องอะตอมและตารางธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีมโนทัศน์ทางเลือก เรื่องสัญลักษณ์นิวเคลียร์และไอโซโทป มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.97 ซึ่งใกล้เคียงกับมโนทัศน์ทางเลือกเรื่องแบบจำลองอะตอมและเวเลนซ์อิเล็กตรอน ซึ่งมีร้อยละ 55.75 และเรื่องธาตุและสารประกอบ ซึ่งมีร้อยละ 55.64 ส่วนมโนทัศน์ทางเลือกเรื่องตารางธาตุและสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ มีน้อยที่สุด คือร้อยละ 50.13


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2539). แนวทางการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2551). “แนวคิดทางเลือกของนักเรียนในวิชาเคมี.” วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 19 (2), 10-28.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพย์สิริ กาญจนวาสี และ ศิริชัย กาญจนวาสี. (2564). วิธีวิทยาการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์ทันใจ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2523). แบบทดสอบวินิจฉัย. วารสารการวัดผลการศึกษา 2 (1), 9 – 24.

บุญชม ศรีสะอาด. (2540). การวิจัยทางการวัดและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประกาย เชื้อนิจ. (2560). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความบกพร่องทางการเรียน วิชาเคมี เรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พร้อมพรรณ อุดมสิน. (2538). การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันเพ็ญ คำเทศ. (2560). “มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์ ประเภทและเครื่องมือประเมิน.” วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 10 (2), 54-64.

ศิริชัย กาญจนวสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรเดช อนันตสวัสดิ์. (2561). การพัฒนาระบบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมีโดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสามระดับร่วมกับการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Apriliani, S. S. (2019). “Misconception Identification of VII Class Grade Students on The Subjects of Material and Change Classification.” Pensa E-Jurnal: Pendidikan Sains 7 (2).

Aslan, A., and Demircioglu, G. (2014). “The effect of video-assisted conceptual change texts on 12th grade students’ alternative conceptions: The gas concept.” Procedia-Social and Behavioral Sciences. 116, 3115-3119.

Ayyildiz, Y., and Cubukcu, E. (2022). “A Content Analysis on the Misconceptions in 9th Grade Chemistry.” Journal of Turkish Chemical Society Section C: Chemistry Education (JOTCSC). 7 (1), 73-124.

Fitriza, Z., and Gazali, F. (2018). “Diagnosing Students’ conception on atomic structure using open ended questions.” Journal of Physics: Conference Series. 1013 (1).

Fitriza, Z., Latisma, D. J., and Mawardi, M. (2015). “Analisis Perkembangan Konsepsi Siswa Mengenai Struktur Atom Di Sma Adabiah Padang.” PAKAR Pendidikan. 13 (1), 89-101.

Gurel, D. E. R. Y. A., Eryilmaz, A., and McDermott, L. (2015). “A review and comparison of

diagnostic instruments to identify students' misconceptions in science.” Eurasia Journal of Mathematics Science and Technology Education. 11 (5), 989 – 1008.

Koc, I., and Yager, R. E. (2016). “Preservice Teachers' Alternative Conceptions in Elementary Science Concepts.” Cypriot Journal of Educational Sciences. 11 (3), 144-159.

Patil, S. J., Chavan, R. L., and Khandagale, V. S. (2019). “Identification of misconceptions in science: Tools, techniques & skills for teachers.” Aarhat Multidisciplinary International Education Research Journal (AMIERJ). 8 (2), 466-472.

Rahmawan, S., Firman, H., Siswaningsih, W., and D. S. Rahayu. (2021). “Development of Pictorial-based Two-Tier Multiple Choice Misconception Diagnostic Test on Buffer Solutions.” Jurnal Tadris Kimiya. 6 (2), 132-143.

Samborey, S., and Shimizu, K. (2019). “Preliminary Finding on Teacher Trainees’ Misconceptions in Atom and Molecule.” 日本科学教育学会年会論文集 43, 590-593.

Soeharto, S., Csapó, B., Sarimanah, E., Dewi, F. I., and Sabri, T. (2019). “A review of students’ common misconceptions in science and their diagnostic assessment tools.” Jurnal Pendidikan IPA Indonesia. 8 (2), 247-266.

Taber, K. S. (2019). “Alternative conceptions and the learning of chemistry.” Israel Journal of Chemistry. 59 (6-7), 450-469.

Yasmin Nurul, F., and S. Ajat. (2022). “Development of Three-Tier Diagnostic Test Instruments to Measure Misconceptions of Class X Students on Atomic Structure Material.” Jurnal Pendidikan dan Pembelajaran Kimia. 11 (1), 145 – 158.