การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้กรณีศึกษาร่วมกับแนวคิด โมเดลธุรกิจเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวางแผนธุรกิจเพื่อชุมชน สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยาการจัดการ วิทยาลัยชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้การเรียนด้วยกรณีศึกษา ร่วมกับแนวคิดโมเดลธุรกิจฯ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการสอนแบบกรณีศึกษาโดยใช้แนวคิดโมเดลธุรกิจ 3. เพื่อศึกษาการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการสอนแบบกรณีศึกษาโดยใช้แนวคิดโมเดลธุรกิจ และ 4. เพื่อประเมินรับรองรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการสอนแบบกรณีศึกษาโดยใช้แนวคิดโมเดลธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาวิทยาลัยชุมชน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา กจ.1002 วิชาหลักการจัดการ 3 (3-0-6) จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสำรวจสภาพ ปัญหา และความต้องการฯ 2. แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 3. รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้การเรียนด้วยกรณีศึกษาร่วมกับแนวคิดโมเดลธุรกิจ 4. แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานฯ 5. แบบทดสอบความรู้การเขียนแผนธุรกิจ 6. แบบประเมินความสามารถในการสร้างแผนธุรกิจ 7. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ฯ 8. แบบประเมินรับรองรูปแบบการเรียนรู้ฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อสภาพ ปัญหา และความต้องการฯ อยู่ในระดับมาก 2. รูปแบบการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 2.1) องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน กรณีศึกษา เทคโนโลยีดิจิทัล และสภาพแวดล้อม 2.2) กระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ ความพร้อม/ปฐมนิเทศ ศึกษาบริบท กรณีศึกษา กิจกรรมการเรียนรู้ นำเสนอ/อภิปรายผล และสรุป/ประเมินผล และ 2.3) แพลตฟอร์มการเรียนรู้ ได้แก่ แบบออนไลน์ และแบบในห้องเรียน 3. ผลการใช้รูปแบบฯ มีดังนี้ 3.1) ผู้เรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3.2) ผู้เรียนมีความสามารถในการเขียนแผนธุรกิจอยู่ในระดับมากที่สุด 3.3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก และ 4. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรับรองความเหมาะสมของรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กรปภา เจริญชันษา. (2557). การพัฒนากิจกรรมเตรียมความพร้อมเป็นผู้ประกอบการทีมีความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชีวศึกษา ภาคอาชีวศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษศาสตร์.
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (2563) แผนการส่งเสริมSME พ.ศ.2563-2565 ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2563. แหล่งที่มา https://www.dip.go.th/th/news/category/2020-06-26-19-48-36
ธนาคารแห่งประเทศไทย (2561) การวางแผนธุรกิจ SMEs. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.1213.or.th/th/moneymgt/smebusplan/Pages/smebusplan.aspx
ปรีชา สมพืช. (2559). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา. วารสารวิจัย ราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11 (2), 260-270
สุธิดา ปรีชานนท์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้คลาวด์เป็นฐานร่วมกับกระบวนการซินเนคติกส์และเทคนิคการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิง สร้างสรรค์ทางการถ่ายภาพ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎี บัณฑิต. สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร
โสภิตา สุวุฒโฑ. (2555). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพนักเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Johnson, K., McHugo, C., & Hall, T. (2006). Analyzing the efficacy of blended learning using Technology Enhanced Learning (TEL) and m-learning delivery technologies.
Online. Retrieved May 5, 2020. from: http://www.ascilite.org.au/conferences/ sydney06/proceeding/pdf_papers/p73.pdf