การศึกษาความต้องการและส่วนประสมทางการตลาดการทอผ้าไหมลายพื้นบ้านของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกุดโง้ง ตำบลโพนข่า อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทอผ้าไหมลายพื้นบ้านของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกุดโง้งตำบลโพนข่าเป็นการรวมกลุ่มทอผ้าไหมลวดลายดั้งเดิมของชาวบ้านในพื้นที่ที่บ่งชี้ถึงวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ยังคงดำรงอยู่ของคนท้องถิ่น ซึ่งผ้าไหมลายพื้นบ้านนับเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของส่วนประสมทางการตลาดที่สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและส่วนประสมทางการตลาดทอผ้าไหมลายพื้นบ้านของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกุดโง้ง ตำบลโพนข่า อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกร นักธุรกิจส่วนตัว ข้าราชการ รวม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการและส่วนประสมทางการตลาดการทอผ้าไหมลายพื้นบ้านจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพการผลิต ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาสินค้า ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
ส่วนใหญ่ลูกค้าที่มีความต้องการซื้อผ้าผ้าไหมลายพื้นบ้านมากที่สุด คือ กลุ่มบุคลากรทางการศึกษาในท้องถิ่น โดยบุคลากรทางการศึกษามีความต้องการและส่วนประสมทางการตลาดทอผ้าไหมลายพื้นบ้านของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการในท้องถิ่นมีความต้องการและส่วนประสมทางการตลาดการทอผ้าไหมลายพื้นบ้านด้านช่องทางการจำหน่ายมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบความต้องการและส่วนประสมทางการตลาดการทอผ้าไหมลายพื้นบ้านของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกุดโง้ง พบว่า มีความต้องการและส่วนประสมทางการตลาดการทอผ้าไหมลายพื้นบ้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
ฤดี เสริมชยุต. (2563). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวชุมชน. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา. 2 (4), 51-61.
ณัชชาภัทร เวียงแสง และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. ขอนแก่น: ธรรมทรรศน์.
ธัญญธร ศรีวิเชียร. (2561). กลยุทธ์การตลาดบริการสำหรับธุรกิจร้านผ้าพื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 5 (1), 60-74.
ศิริกุล มูลโรจน์. (2551). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าฝ้ายของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรณิชชา ทศตา และคณะ. (2560). การถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทอผ้าไหม อำเภอบ้าน เขว้า จังหวัดชัยภูมิ. Journal Of Nakhonratchasima College. 11 (1),
อภิชญาฏ์ หุตะวรากร. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปพื้นเมืองผ้าฝ้ายจากร้านค้าในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อลิศรา ธรรมบุตร และคณะ. (2564). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดผ้าไหมทอมือพื้นถิ่นจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ. 2 (2), 1-13.
อันธิกา ทิพย์จำนง. (2557). การพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา. วารสารศรี นครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 6 (1), 161-173.
Kotler, P. (1994). Marketing management. 11th ed. New Jersey: Pearson Education.