แนวทางพัฒนานวัตกรรมการตลาดของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มท่องเที่ยวในภาคกลางของประเทศไทย

Main Article Content

พนิดา สกุณา
ภัทรพล ชุ่มมี
ปรีชา คำมาดี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดนวัตกรรมการตลาดของของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวในภาคกลางของประเทศไทย 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวในภาคกลางของประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ ของวิสาหกิจชุมกลุ่มท่องเที่ยวในภาคกลางของประเทศไทย ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 318 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมทางการตลาด ด้านการตลาด และด้านการบริหารองค์การ จำนวน 9 คน เป็นงานวิจัยเชิงผสม (Mixed Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1) จากการศึกษาแนวคิดนวัตกรรมการตลาดของของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวในภาคกลางของประเทศไทย พบ 4 ด้านสำคัญดังนี้ รูปแบบวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยว   ปฎิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยว  การบริการ และความสำเร็จทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวในภาคกลางของประเทศไทย 2) แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวในภาคกลางของประเทศไทย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยว ได้แก่ ส่วนปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยว โดยทุกปัจจัยมีส่วนสนับสนุนซึ่งกันและกัน และรูปแบบแนวทางพัฒนานวัตกรรมการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวในภาคกลางของประเทศไทยสามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). (2564). ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมหลัง COVID-19. ออนไลน์. แหล่งที่มา: https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/ri-future-of-tourism-21

ธีรพงศ์ โสดาศรี. (2562). การประชาสัมพันธ์เชิงรุก. ออนไลน์. แหล่งที่มา: https://www.stou.ac.th/ offices/rdec/chan/main/Doc/Km/2556/Reference/STOU-CB7.2-4(1).pdf.

พิเชษฐ ชัยประไพพงษ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจและความจงรักภักดีต่อการใช้บริการรถยนต์เคลื่อนที่ให้บริการทางทะเบียนราษฎร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศิริวรรณ จุลทับ. (2558). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสถาบันอุดมศึกษา เขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. วารสารราชภัฏสุราษฏร์ธานี. 2 (2),157-174.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2564). ดัชนีราคาผู้บริโภคชุดรายได้น้อยของประเทศไทย. ออนไลน์. แหล่งที่มา: https://data.go.th/organization/tpso

อรพรรณ คงมาลัย และอัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2561). บทบาทของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปแช่เข็ง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Heide, J. B. et al. (2009). The organization of regional clusters. Academy of Management review, 34(4), 623-642.

Kotler, P., Armstrong, G., Wong, V., & Saunders, J. (2008). Marketing defined. Principles of marketing, 7.

Lay Hong, T., Boon Cheong, C., & Syaiful Rizal, H. THE STRATEGIC USE OF INFORMATION AND

COMMUNICATION TECHNOLOGY (ICT) ON THE GAPS MODEL OF SERVICE QUALITY IN BANKING INDUSTRY. International Journal, 14, 7-5.

The United Nations World Tourism Organization UNWTO. (2560). INVESTMENT NETWORKS. Online. Accessible from https://www.unwto.org/