รูปแบบการสร้างความเข็มแข็งองค์กรวิถีพุทธผ่านการสื่อสารของสถานีวิทยุ พระพุทธศาสนา FM 101.75 MHz

Main Article Content

พระภาณุวัฒน์ จนฺทวฑฺฒโน
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ
อมรรัตน์ เตชะนอก
สุทธิพงษ์ อุพลเถียร
นครินทร์ ตามบุญ

บทคัดย่อ

         การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการสร้างความเข็มแข็งองค์กรวิถีพุทธ ผ่านการสื่อสารของสถานีวิทยุพระพุทธศาสนา FM 101.75 MHz เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนามโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 34 รูปคน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาวิธี ผลวิเคราะห์รูปแบบการสร้างความเข็มแข็งองค์กรวิถีพุทธ ผ่านการสื่อสารของสถานีวิทยุพระพุทธศาสนา FM 101.75 MHz : มีการดำเนินการความสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาองค์กรตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ตามองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่ 1) การเข้าถึงบริการ เป็นการบริการเพื่อประโยชน์สาธารณชน ตามหลักปรหิตปฏิบัติ 2) การมีส่วนร่วมขององค์กร มีความพร้อมเพรียงในการดำเนินการ ตามหลักอปริหานิยธรรม 3) ความหลากหลาย มีรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะแก่การพัฒนาตามลำดับไตรสิกขาและภาวนาสี่ 4) ความเป็นท้องถิ่น เข้าถึงชุมชนตามหลักสาราณียธรรม และ 5) ความเป็นอิสระ ให้สิทธิเสรีภาพเอื้ออาทร ตามหลักสังคหวัตถุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูป การศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทซัคเซสมีเดียจำกัด.

ธนิตา กลิ่นลําดวน, (2546). “การบริหารจัดการรายการวิทยุชุมชนของคนโคราช”. รายงานโครงการ เฉพาะบุคคล คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญส่ง นาแสวง. (2558). การเสริมสร้างเครือข่ายสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาและชุมชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). การศึกษาฉบับง่าย. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.

พระครูศรีนนทวัฒน์. (2558). การบริหารจัดการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นพระพุทธศาสนาในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Scott M. Cutlip, Allen H. Center and Glen M. Broom. (1999). Effective Public Relations. s"h ed.