การจัดกิจกรรมการส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ด้านการทำงานร่วมกัน ด้วยการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน วิชากฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Main Article Content

สวียา สุรมณี
รศรงค์ พัฒนาอนุสรณ์
ศศิกร สุรมณี
กมลพัฒน์ ไชยสงคราม

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ด้านการทำงานร่วมกัน ด้วยการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน วิชากฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ด้านการทำงานร่วมกันกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนในวิชากฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์  3) แบบประเมินทักษะด้านการทำงานร่วมกัน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
          ผลการวิจัยพบว่า
         1) ได้กิจกรรมการส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ด้านการทำงานร่วมกัน ที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน มีการแบ่งกลุ่ม ค้นคว้า แก้ปัญหาและนำเสนอ สร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจัดทำเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรม 5 ขั้น คือ 1) การกระตุ้นความสนใจ 2) การตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ 3) การค้นและคิด 4) การนำเสนอ และ 5) การประเมินผล
          2) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ด้านการทำงานร่วมกัน ส่งผลให้ ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษามีความสามารถด้านการทำงานร่วมกันอยู่ในระดับดีมาก และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด


    

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิรภัค สุวรรณเจริญ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2 (1), 37-47

จุไรรัตน์ อนันต์ไพฑูรย์. (2563). การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ในรายวิชางานอาหาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 8 (3), 278-289.

ฐาปนี แย้มแก้ว, มัลลิกา ปาละโชติ และ กรกมล ชูช่วย. (2564). ผลการศึกษาทักษะความคิดสร้างสรรค์และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบร่วมกับแผนผังทางปัญญา ในรายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (7), 317-329

ดวงพร ไม้ประเสริฐ (2563 : 7) การศึกษาการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานใน

รายวิชาเทคนิคการสร้างสื่อปฏิสัมพันธ์ดิจิทัลคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น. 7, 1-8.

ทศวรรษ แซ่จึง และ อนงนาฏ เพชรประเสริฐ. (2565). การใช้วิธีการสอนแบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนา ทักษะการเขียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (12), 160-169

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ. ม.ป.ท. :

ม.ป.พ

ประภาภรณ์ พลเยี่ยม, (2560). การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ 2

ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : หจก.อภิชาติการพิมพ์.

ภัทร์สุดา มณฑศก (2566). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการ

จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.

Journal of Roi Kaensarn Academi. 8 (5), 548-566

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL). วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 1 (2), 23-37

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2560). กระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานในกระบวนวิชา CEE2205 (ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็ก). วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 32 (2), 1-8

อรวรรณ อุดมสุข และ กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2656). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน(CBL) ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารพิกุล. 20 , 290-307

Anderson, Linda K. (1993). Teams: Group Process, success, and barriers. Journal of nursing

administration. 23(9), 15-19

Huang, Jing - Wen Li, Yong – Hui (2012). Slack Resources in Team Learning and Project Performance. Journal of Business Research. 65 (3), 381-388

Luechaipanit, W. (2015). Creativity-based Learning (CBL). Journal of Learning Innovations Walailak University. 1 (2), 23-38. [in Thai].

Peterson, R. (1999). Building a mission for quality care. Journal of Neuroscience Nursing. 31(6), 363-5.