ประสิทธิผลของนโยบายการประเมินคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์ COVID -19 กรณีศึกษา : โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1

Main Article Content

นรากร เพ็งผ่อง
วจี ปัญญาใส
ระพินทร์ โพธิ์ศรี

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษากระบวนการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามนโยบายการประเมินคุณภาพภายนอก 2) ศึกษาประสิทธิผลและผลกระทบของนโยบายการประเมินคุณภาพ  3) หาแนวปฏิบัติที่ดีของโรงเรียนที่ได้รับผลการประเมินในระดับสูงสุดตามนโยบายการประเมินคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์ COVID-19 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูงานประกันคุณภาพภายในและตัวแทนกรรมการสถานศึกษา จากโรงเรียน 50 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถามความคิดเห็น  แบบสอบถามปัญหาและอุปสรรค แบบสอบถามความพึงพอใจ การดำเนินการนำนโยบายการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ การประเมินคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์โควิค –19 ผลการวิจัยพบว่า ผลการดำเนินการจากผู้บริหาร และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายใน ด้านการบริหารจัดการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.75 ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยรวม ค่าเฉลี่ย 4.37  ด้านผู้เรียนโดยรวม ค่าเฉลี่ย 4.14 และไม่พบปัญหาอุปสรรคหรือมีปัญหาน้อยทุกประเด็นส่วนความพึงพอใจประสิทธิผลและผลกระทบ โดยศึกษาจากความพึงพอใจการดำเนินการ พบว่าการดำเนินงาน ทุกด้านอยู่ในระดับพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง ส่วนผลการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี โรงเรียนต้นแบบ 3 โรงเรียนพบการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการประเด็นสำคัญ คือ 1) โรงเรียนต้องมีการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) การนำแผนสู่การปฏิบัติ มีขั้นการติดตามผลการดำเนินงาน 3) การนำผลการติดตามไปปรับปรุง 4) พัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ คือ 1) การวางแผนการจัดการเรียนรู้ 2) นำสู่การจัดการเรียนรู้ 3) มีการติดตาม ตรวจสอบการจัดการเรียนรู้ 4) ปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้ ส่วนด้านผู้เรียนเกิดสมรรถนะ ด้านการสื่อสาร การคิด  การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและทักษะชีวิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ประกาศมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561.

กิริญณภา หนูอินทร์. (2562). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School–Based Management. ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ขวัญชัย ขัวนา และ ธารทิพย์ ขัวนา. (2562). การจัดการเรียนการสอน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฎสกลนคร. 16 (73), 13-22.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2563). แนวคิดทางด้านหลักการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาส์นปริทัศน์. 35 (3),

ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

บรรจง เจริญสุข และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับ นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

บังอร เสรีรัตน์. (2560). ครูกับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 14 (1), 1-11.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน.

ภริมา วินิธาสถิตกุล และชนินันท์ แย้มขวัญยืน. (2565). แนวทางการเรียนการสอนที่เป็นเลิศในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6 (3), 921-933.

ภัทรพร บุญนำอุดม. (2563). ห้องเรียนในฝันของการศึกษาศตวรรษที่21: บทบาทสำคัญของห้องเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้โลกสมัยใหม่. ออนไลน์. (15 มีนาคม2565). แหล่งที่มา www.tcdc.or.th

ยุพาพักตร์ สะเดา และคณะ. (2562). การเรียนรู้เชิงรุก ActiveLearning. วารสารบัณฑิตศาส์น. 17 (2), 124-133.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การถอดบทเรียน เพื่อการเปลี่ยนแปลง. พิมพ์เผยแพร่ ธันวาคม 2562. พิมพ์ที่ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

วีซานา อับดุลเลาะ และวุฒิชัย เนียมเทศ. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติ”. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 227-247.

สุนันท์ รุ่งอรุณแสงทอง. (2561). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดประสิทธิภาพ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2562). การศึกษาภควันตภาพเรียนได้ทุกหนทุกแห่งและทุกเวลา. (พิมพ์ครั้งที่ 2) : แพร่ไทยอุตสาหการพิมพ์.

อมรรัตน์ เตชะนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่21. ดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่น.

อุทุมพร จามรมา. (2564). บทความบรรยายสรุปการประกันคูรภาพการศึกษากับการประเมินภายนอกร่วม สมศ. (14 มกราคม 2564). แหล่งที่มา www.onesqa.or.th.

อัจฉรา นิยมาภา. (2564). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ในบริบทที่ เปลี่ยนแปลง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Demirci, C. (2017). "The Effect of Active Learning Approach on Attitudes of 7th Grade Students." International Journal of instruction, 10, 4: 129-144.

Wen - Jye Shyr, “ Developing the Principal Technology Leadership Competency Indicators for Technical High Schools in K-12 in Taiwan” Journal of Mathematics Science and Technology Education 13, 6 (October 2016): 2085-2089. 168

Pelenkahu, N. (2017). "Improving Speaking Skill Through Joyful, Active, Creative, Effective Approach (JACEA): Classroom Action Research at Fourth Grade Student." World Journal of English Language, 7, 4: 31.