การพัฒนาความสามารถการเขียนภาษาเยอรมันโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

มานิตา ยืนยง
อธิกมาส มากจุ้ย

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการเขียนภาษาเยอรมันของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือว่าอยู่ในระดับใด ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนภาษาต่างประเทศ (ภาษาเยอรมัน) จำนวน 15  คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาเยอรมัน)  จำนวน 5 แผน 2) แบบประเมินความสามารถการเขียนภาษาเยอรมัน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( )  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถการเขียนภาษาเยอรมันหลังการการจัดการเรียนการจัดการเรียนการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ. (2558). ภาษากับการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี.เพรส.

เฉิดศักดิ์ ชุมนุม. (2549). “นิรมิตรนิยม-ทฤษฎีการสร้างความรู้โดยนักเรียน (Constructivism),”รวมบทความบทเรียน: นวัตกรรมจากโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานประสานงาน.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน :องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถานเอคอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน. (2564). ความสัมพันธ์ด้านการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: https://berlin.thaiembassy.org/th/page/ความสัมพันธ์ด้านการศึกษา? menu=63ed0058748a8d44e0243b03

Artzt, Alice F., and Newman, Claire M. (1990). “Cooperative Learning.” The Mathematics Teacher 83. 6, 448-452.

Die Bundesregierung. (2020). 8 Dinge, die Sie noch nicht über die deutsche Sprache wussten. Online. Retrieved April 1, 2021. from https://www.bundesregierung.de/breg-de/ aktuelles/fakten-deutsche-sprache-1723168

Ellis, Rod. (2004). Task-Based language Learning and Teaching. New York: Oxford University Press.

Hamer, Jeremy. (1990). The Practice of English Language Teaching. London: Longman Group Ltd.

Johnson, David W., and Johnson, R. T. (1991). Learning together and alone. Englewood Cliffs: Prentice-Hall,

Kelly, P.G. (1984). “Teaching Writing to Tertiary Level ESL Students”. RELC Journal.

Madsen, Harold S. (1983). Techniques in Testing (Teaching Techniques in English As a Second Language). New York: Oxford University Press. 1983: 102-122.

Nunan, David. (2004). Task – Based Language Teaching. United Kingdom: Cambridge University Press.

Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research, and Practice. United States: University of Michigan.

Willis, Jane. (1996). A framework for Task-Based Learning. London. Longman.