การจัดการภาวะวิกฤตธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภาวะวิกฤตธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ภาคกลาง 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการภาวะวิกฤตธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ภาคกลาง 3) เพื่อสร้างแนวทางการจัดการภาวะวิกฤตธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ตัวแทนผู้บริหารโรงแรม ตัวแทนผู้บริหารภาครัฐ/ตัวแทนสมาคมโรงแรมไทย/ตัวแทนภาคเอกชน นักวิชาการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานโรงแรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาณ์และแบบสอบถาม สถิติและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า จุดแข็งของโรงแรมมีการปรับตัว มีการทำมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA Plus) มีระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น ทุกโรงแรมได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกในด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ด้านสภาพการแข่งขัน ด้านการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ด้านนโยบายทางการเมือง และด้านพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การจัดการภาวะวิกฤตธุรกิจโรงแรมจากปัญหาโรคระบาดและปัญหาเศรษฐกิจแตกต่างกันตามที่ตั้งของธุรกิจโรงแรมและ ขนาดของธุรกิจโรงแรม ทั้งในช่วงก่อนวิกฤต ช่วงระหว่างวิกฤต และช่วงหลังวิกฤต แนวทางการจัดการภาวะวิกฤตธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย คือ แนวทางการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ใน 5 องค์ประกอบ
Article Details
References
กวินภพ สายเพ็ชร์. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019 (COVID-19) กับโอกาสในการปรับตัวทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมโรงแรมของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 23 (1), 207-219.
บริษัทโรงแรมเซ็นนทรัลพลาซา จำกัดมหาชน. (2565). การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ Business Continuity Management : BCM.
มนสิชา ซาวคำ. (2564). วิกฤตและโอกาสของภาคธุรกิจโรงแรมที่เกิดขึ้นหลังสถานการณ์โควิด-19. วารสารการท่องเที่ยว และการบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 6 (1), 1-11.
สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร. (2555). การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจทางรอดของธุรกิจในภาวะวิกฤต. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 4 (1), 68-77
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). สถิติจำนวนนักท่องเที่ยว. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 20 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.mots.go.th/more_n ews_new.php?cid=411
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). การขยายตัวของจีดีพี (GDP:Gross Domestic Product). ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 20 มกราคม 2566 . แหล่งที่มา: https://www.nesdc. go.th/ewtw3c/morenews.php?cid=383&filename
สุชาติ อุทัยวัฒน์,กมลพร กัลยาณมิตรและคณะ (2564). การบริหารจัดการภาวะวิกฤติธุรกิจโรงแรมไทย.วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 8 (2), 162-178.
อัจฉรา เมฆสุวรรณ. (2564). ผลกระทบของการจัดการความเสี่ยงต่อความอยู่รอดของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดลำปาง. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคงล้านนา. 9 (2), 39-52
Bass and Avolio. (1994). Improving Organization Effectiveness Through Transformational Leadership. (Thousand Oak: Sage).
Devi, S., Warasniasih, N. M. S., Masdiantini, P. R., & Musmini, L. S. (2020). The impact of COVID-19 pandemic on the financial performance of firms on the Indonesia stock exchange. Journal of Economics, Business, & Accountancy Ventura. 23 (2), 226-242
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607 – 610.
Niininen. (2013). Five Star Crisis Management: Examples of Best Practice from the Hotel Industry. Available from http://dx.doi.org/10.5772/55209. (cited Oct. 4, 2016).
Zeithaml, V. A., Berry, L.L., and Parasuraman, A. (1993). The nature and determinants of customer expectations of service. Journal of the academy of marketing science. 21 (1), 1-12.