การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบผสมผสานร่วมกับการโค้ช เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) และการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบผสมผสานร่วมกับการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) และการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ใช้การวิจัยและพัฒนา ขั้นตอนดังนี้ 1) การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและศึกษาความต้องการ โดยการวิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับนโยบายการศึกษา หลักการแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม 2) การพัฒนาและหาคุณภาพรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบผสมผสานร่วมกับการโค้ช โดย 2.1)ออกแบบและพัฒนารูปแบบ 2.2)หาคุณภาพของรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม และประเมินคุณภาพของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินคุณภาพรูปแบบมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลงานวิจัยพบว่า รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบผสมผสานร่วมกับการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษามี 5 องค์ประกอบได้แก่ 1)หลักการ 2)วัตถุประสงค์ 3)กระบวนการของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบผสมผสานร่วมกับการโค้ช (GROUP Model) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Gathering : G) ขั้นที่2 การร่วมพัฒนาวิชาชีพ (Relationship : R) ขั้นที่3 การปฏิบัติการ (Operation : O) ขั้นที่4 การสรุปผล (Using for Conclusion : U) และขั้นที่5 การเรียนรู้และพัฒนาอย่างยั่งยืน (Permanence : P) 4) การวัดและประเมินผล 5) เงื่อนไขและปัจจัยความสำเร็จ คุณภาพของรูปแบบอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.71
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม และ กรรณ จรรยาวุฒิวรรณ์. (2561). เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมอัจฉริยะเพื่อเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครู. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. 13 (14-15), 14–26.
นธี เหมมันต์ และ อภินันท์ สิริรัตนจิตต์.(2559). การเปรียบเทียบสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณาจารย์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 9 (1), 30 - 38.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2557). การสร้างนวัตกรรม : เปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรมจากงานวิจัยสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2556). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย.(2556).STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร
Executive Journal. 33 (2), 49 – 56.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2556). สมรรถนะด้านการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครูที่เข้าร่วมเป็น
สมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์. 45 (4), 142–163.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตรการนิเทศการ สอนและการโคช การพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎี กลยุทธสูการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: โรงพิมพมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์
ศุภวรรณ สัจจพิบูล.(2560). แนวคิดการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21. วารสาร
มหาวิทยาลัยศิลปากร. 37 (1), 203-222.
สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา.(2556). Teacher as Learner : การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูโดยกระบวนการชี้แนะ และการเป็นพี่เลี้ยง (วิดิทัศน์). กรุงเทพมหานคร: ปิโก (ไทยแลนด์) ร่วมกับคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุทธิดา จำรัส. (2560). นิยามของสะเต็มและลักษณะสำคัญของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 10 (2), 13 – 34.
สุวิมล สพฤกษ์ศรี.(2561).ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพโดยผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการ
เรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนระดับ ประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อุบลวรรณ ส่งเสริม.(2561).การพัฒนานวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สำหรับนักศึกษาครู. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11 (2), 1363 – 1373.
Chanasit Sithsungnoen et al. (2020). The Development of GPAS 5 Steps Teaching Model for Enhancing Learning Skills in Thailand 4.0 Era. PSYCHOLOGY AND EDUCATION (2021) 58 (1), 1340-1347.
DuFour, R. (2004). Schools as learning communities. Educational Leadership 61 (8), 6-11.
Joyce, B., and Shower, B. (1996). The Evaluation of Peer Coaching. Education Leadership 53, 6 (March), 12-15.
Partnership for 21st Century Skills. (2011). 21st Century Skills. Online. Retrieved September 15, 2012, from http://www.p21.org