ผลของโปรแกรมพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลด้วยปัญญาของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รติยา อัศวติณณา
พิชญาณี พูนพล

บทคัดย่อ

         พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก โดยปัญหา โดยปัญหาของผู้สูงอายุนอกจากการใช้อุปกรณ์แล้ว การรับข้อมูลข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์ หลงเชื่อข้อมูลเท็จ ถูกหลอกลวง หลงเชื่อข้อมูลที่ส่งผลเสียต่อผู้สูงอายุได้  ผู้วิจัยจึงสร้างโปรแกรมต้นแบบที่จะทำให้ผู้สูงอายุไทยเกิดการรู้เท่าทันสื่อ มีพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลด้วยปัญญา โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อฯ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมและไม่ได้รับโปรแกรม 2. เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อฯ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมในระยะก่อน - หลัง และระยะติดตามผลหลังจากได้รับโปรแกรม 2 สัปดาห์ในผู้สูงอายุจำนวน 50 คน แบ่งเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กำหนดกลุ่มทดลองเข้ารับโปรแกรมจำนวน 4 ครั้ง โดยใช้โปรแกรมที่และแบบวัดพฤติกรรมฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยใช้สถิติ Repeated ANOVA และ T-test
         ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลด้วยปัญญาสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.001 (p < 0.05) และจากการติดตามผลหลังจากที่ได้รับโปรแกรม 2 สัปดาห์พบว่า มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลด้วยปัญญาสูงที่สุด  โดยสัมพันธภาพในครอบครัวและพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลด้วยปัญญา มีความสัมพันธ์กันและเป็นไปในทิศทางเดียวกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 จึงสามารถสรุปได้ว่า โปรแกรมพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์มีประสิทธิภาพ เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา ตันสุวรรณนนท์. (2551). ผลการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (Effects of Training on Media Literacy Development of Suan Dusit Rajabhat University Students). วารสารพฤติกรรมศาสตร์ (Warasan Phuettikammasat). (14) 1 , 21-32

ณัฐนันท์ ศิริเจริญ. (2558). กรณีศึกษาการใช้สื่อใหม่ผ่านโซเชียลมีเดียในโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุกับสมาชิกในครอบครัว ณ ประเทศนิวซีแลนด์. Veridian e-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ และฉบับ International Humanities, Social Sciences and arts. (10)3, 96-117

ทวีศิลป์ ศรีอักษร. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิศุทธิภา เมธีกุล. (2559). การประเมิณความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลและพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 10 (2), 9-22.

พิมพ์ใจ ทายะติ. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย เพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. Veridian e-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ และฉบับ International Humanities, Social Sciences and arts. (10) 3, 1456-1471

วิปัศย์ ชัยช่วย. (2560). การใช้ LINE ของผู้สูงอายุ: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. Veridian e-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ และฉบับ International Humanities, Social Sciences and arts. (10) 1, 905-918

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2565). จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุทั่วโลกและไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2565. แหล่งที่มา https://infocenter.nationalhealth.or.th

สมาน ลอยฟ้า. (2554). ผู้สูงอายุกับเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 29 (2), 53-64.

สุวิช ถิระโคตร. (2561). พฤติกรรมการใช้และการรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ตและทัศคติการใช้เนื้อหาด้านสุขภาวะบนอินเทอร์เน็ตของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 36 (1), 72-80.

Bandura, A. (2001). Social cognitive theory: An agentic perspective. Annual Review of Psychology, 52, 1–26. https://doi.org/10.1146/annurev.psych.52.1.1

Brown, J. D. (2006). Media Literacy has Potential to Improve Adolescents' Health [Editorial]. Journal of Adolescent Health, 39 (4), 459–460. https://doi.org/10. 1016/j. jadohealth.2006.07.014

Coto, M., Lizano, F., Mora, S., & Fuentes, J. (2017). Social Media and Elderly People: Research Trends. (Vol.10283), 65-81

Czaja, S., & Chin, C. L. (2007). The impact of aging on access to technology (Vol. 5), 341-349 https://doi.org/10.1145/1102187.1102189

Diana, C., Cristina, B., Ignacio, M., Juana, B.L., Andrea, M.D., Irene, Z. (2018). International Journal of Human-Computer Studies (Vol.118), 24-37

Noh, Y. (2016). A study on the effect of digital literacy on information use behavior. Journal of Librarianship and Information Science, 49 (1), 26-56. doi:10.1177/0961000 615624527

Teng, C.E., & Joo, T.M. (2017). Analyzing the Usage of Social Media: A Study on Elderly in Malaysia. International journal of humanities and social sciences. 11, 737-743.