ผลการฝึกตาราง 9 ช่องเพื่อพัฒนาทักษะความคล่องแคล่วว่องไวในวิชาทักษะและ การสอนกีฬาฟุตบอลของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกตาราง 9 ช่องเพื่อพัฒนาทักษะความคล่องแคล่วว่องไวในวิชาทักษะและการสอนกีฬาฟุตบอลของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยเปรียบเทียบทักษะความคล่องแคล่วว่องไวของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้การฝึกด้วยตาราง 9 ช่อง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา ชั้นปีที่ 2 จำนวน 45 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ตาราง 9 ช่อง ขนาด 90 X 90 เซนติเมตร และโปรแกรมฝึกการเคลื่อนไหว จำนวน 5 รูปแบบ 2) แบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ 1) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยด้วยค่า “ที”
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวก่อนการฝึกและหลังการฝึกของกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.26 วินาทีและหลังการฝึก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.56 วินาที
Article Details
References
เจริญ กระบวนรัตน์. (2558). ตาราง 9 ช่อง กับการพัฒนาสมอง. เกษตรนวัตกรรม รวบรวมผลงานนวัตกรรมทางการค้นคว้าวิจัยในวาระครบรอบ 72 ปี แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
พชรพล บุญเรือน. (2562). การศึกษาผลการฝึกการวิ่งรูปแบบตัว Z และตัว S ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตบอล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรศิษฎ์ ศรีบุรินทร์ และจรัสศรี ศรีโภคา. (2559). ผลของการฝึกด้วยตารางเก้าช่องและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักศึกษา. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 13: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน. (หน้า 1493-1501). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วันเพ็ญ สุวรรณชัยรบและจิรวัฒน์ ขจรศิลป์. (2563). ผลของการฝึกตาราง 9 ช่องที่มีขนาดต่างกันควบคู่กับการฝึกความอ่อนตัวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในกีฬาวอลเลย์บอล. วารสารบัณฑิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิตวิทยาลัย. 16 (1), 163-176.
สนธยา สีละมาด. (2560). หลักการสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หงส์ทอง บัวทอง. (2559). ผลของการใช้โปรแกรมฝึกความคล่องแคล่วร่วมกับการเพิ่มความหนักของงานต่อความคล่องแคล่วและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Fendyka Novan Ulfiansyah, Tri Rustiadi and Mugiyo Hartono. (2018). The Effects of Agility Exercise and Eye-Foot Coordination against The Dribbling Capability Football Training Players Bintang Pelajar. Journal of Physical Education and Sports. 7 (2), 129–133.
Kusnanik W. Nining, Wahyu E. Widiyanto and Stephen P. Bird. (2019). Effect of Reactive Agility Training Drills on Speed and Agility in Indonesian University Students. The Journal of Social Sciences Research. 5 (8), 1272-1275.
Murat Doganay, Bergun M. Bingul, Cristina Alvarez-Garcia. (2020). Effect of core training on speed, quickness and agility in young male football players. The Journal of Sports Medicine and Physical Fitness. 60 (9), 1240-1246.