รูปแบบนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน ในจังหวัดนครนายก

Main Article Content

คณกร สว่างเจริญ
ลักษณา เกยุราพันธ์
พงษ์พันธ์ นารีน้อย

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น 2) ศึกษาประวัติและสภาพความเป็นมา 3) สร้างรูปแบบนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 4) ประเมินและปรับปรุงการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในจังหวัดนครนายก โดยใช้วิธีวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ประชาชนในเขตอำเภอเมือง อำเภอปากพลี จำนวน 21 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนา
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นเป็นผลิตภัณฑ์ด้านการถนอมอาหารที่บรรพบุรุษได้สั่งสมและสืบทอดกันมาจนกลายเป็นภูมิปัญญาอาหารประจำท้องถิ่นที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี 2) ชุมชนชาวไทยพวนและชุมชนชาวลาวเป็นชุมชนแห่งภูมิปัญญาที่เดินทางมาจากดินแดนที่สูงได้เดินทางมาพร้อมพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมแห่งภูมิปัญญาและได้นำขนบธรรมเนียมประเพณี 3) รูปแบบนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย ชุมชน (Community) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Community) นวัตกรรม (Innovation) การอนุรักษ์ (Conservation) ศักยภาพชุมชน (Enhancing Communities Potential) และการพึ่งตนเอง (Self-Reliance) และ 4) ผลการประเมินและทดลองใช้รูปแบบนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้พัฒนารูปแบบนวัตกรรมภูมิปัญญาด้านอาหารท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในจังหวัดนครนายก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปกร. (2547). บันทึกเรื่องมิสซังแห่งกรุงสยาม. แปลโดย เพียงฤทัย วาสบุญมา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทมาร์ค แอนด์ ทเวน มีเดียส์ จำกัด.

กนกพร ฉิมพลี. (2555). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน : วิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การคิดเชิงสร้างสรรค์ - Creative thinking. กรุงเทพมหานคร: ชัคเซสมีเดีย.

จินต์ประวีร์ เจริญฉิม. (2562). รูปแบบกระบวนการถ่ายทอดศักยภาพภูมิปัญญาของผู้สูงอายุสู่ชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุฑาสกนภ์ บุญนำ. (2565). นวัตกรรมการจัดการความรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 7 (2), 103-114.

จักรพันธ์ โสมะเกษตริน. (2551). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นศรีษะเกษ เพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืน. รายงานการวิจัยกรุงเทพมหานคร สำนักงานวิจัยแห่งชาติ.

จุฑามาศ มะขาม. (2562). การอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารละว้า ของชุมชนบ้านละอูบตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ณิชมน ภมร และ พัชรี ตันติวิภาวิน. (2563). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านภาคเหนือตอนบนของไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. 6 (2), 28-44.

ศรศักร ชูสวัสดิ์. (2539). เมืองนครนายก ชุมชนเกษตรกรรม-เมืองนครนายก . ในประวัติศาสตร์เมืองนครนายก. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

ประเวศ วะสี. (2550). การเรียนรู้ใหม่ไปให้พ้นวิกฤต. กรุงเทพมหานคร: ร่วมด้วยช่วยกัน.

ปรเมธี วิมลศิริ. (2559). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อนาคตประเทศไทย เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. บรรยายหลักสูตรวิทยาการประกันภัย ระดับสูง (วปส) รุ่นที่ 6.

พฤทธิ์พงศ์ ไชยพหล. (2562). การประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการดำรงชีพในการขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พงษ์พันธ์ นารีน้อย. (2559). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์ และคณะ. (2558). การจัดการความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 10 (ฉบับพิเศษ), 1-18.

รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2562). ประวัติศาสตร์ไทย HISTORY of THAILAND . (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : ทอร์ช/Torch.

สุธิดา บุณยะดิศัย. (2558). ภูมิปัญญาการทำนาในทะเลสาบของชุมชนบ้านปากประ ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปกร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 “พลิกโฉมประเทศไทยสู่ สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 7-8.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครนายก. (2566). ผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาร้าปลาดู. ออนไลน์. สืบค้น 30 เมษายน 2566,. แหล่งที่มา: https://nakhonnayok.m-culture.go.th/th/db_84_nakhonnayok_44/186154

เอกพงศ์ ประสงค์เงิน. (2548). วิวัฒนาการวรรณคดีไทย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Keeves, John P. (1988). Educational research and methodology, and measurement: An international handbook. Oxford: Pergamum Press.