ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่กรมอนามัยต่อการใช้แอปพลิเคชันสมุดโทรศัพท์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่กรมอนามัยต่อการใช้แอปพลิเคชันสมุดโทรศัพท์ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่กรมอนามัยต่อการใช้แอปพลิเคชันสมุดโทรศัพท์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันสมุดโทรศัพท์กับความคิดเห็นต่อการใช้แอปพลิเคชันสมุดโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่กรมอนามัย ประชากร คือ เจ้าหน้าที่กรมอนามัย สังกัดกระรวงสาธารณะสุข จำนวน 3,216 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่กรมอนามัย จำนวน 356 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ ทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่กรมอนามัยต่อการใช้แอปพลิเคชันสมุดโทรศัพท์
อยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. =0.19) 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่กรมอนามัยต่อการใช้แอปพลิเคชันสมุดโทรศัพท์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า รายได้ แตกต่างกัน ส่วนเพศ อายุ ระดับและการศึกษาไม่แตกต่างกัน และ 3) ผลการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันสมุดโทรศัพท์กับความคิดเห็นต่อการใช้แอปพลิเคชันสมุดโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่กรมอนามัย ดังนั้นผู้บริหารกรมอนามัยควรกำหนดเป็นนโยบายให้บุคลากรใช้งานแอปพลิเคชันสมุดโทรศัพท์เพื่อเกิดความสะดวกและรวดเร็วในการดำเนินงาน
Article Details
References
กรมอนามัย. (2564). รายงานประจำปี 2564 กรมอนามัย. กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัย.
คงเดช เทศสมบูรณ์. (2562). ความควาดหวัง พฤติกรรมการเปิดรับ และความพึงพอใจ ในการใช้แอปพลิเคชันทางด้านสุขภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. (2529). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
พีระพล วงศ์ขยาย. (2563). ปัจจัยท่ีมีผลต่อการใช้แอปพลเคชันมายโมของธนาคารออมสินของเจเนอเรชันวายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เพชรลักษณ์ โชควัฒนาสมบัติ. (2561). พฤติกรรมปัจจัยอุปสงค์การตลาดต่อการตัดสินใจใช้ แอปพลิเคชัน QueQ ในการจองคิวร้านอาหารผ่านสมาร์ตโฟน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เอกนรินทร์ นิยมทรัพย์. (2558). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อทัศนคติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของพระภิกษุสงฆ์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.