ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาแบดมินตันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แบบห้องเรียนปกติกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ในรายวิชาแบดมินตันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน โดยการเลือกอย่างเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม ซึ่งจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนปกติ และกลุ่มทดลองซึ่งจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการสอน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะ และแบบประเมินความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้หลังเรียนเท่ากับ 14.66 และ 14.74 คะแนน ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติ (p≥0.05) แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาด้านทักษะหลังเรียนพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะสูงกว่ากลุ่มควบคุม อีกทั้งกลุ่มทดลองมีคะแนนพัฒนาการในด้านทักษะส่งลูกหลังมือ ตีลูกหน้ามือ และตีลูกหลังมืออยู่ในระดับสูงโดยมีค่าระหว่าง 59.17 - 67.53 คะแนน แสดงว่าการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนปกติ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะในรายวิชาที่ต้องใช้ทักษะในการฝึกปฏิบัติ
Article Details
References
กรวรรณ สืบสม และนพรัตน์ หมีพลัด. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ด้วย การบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 6 (2), 118-127.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551 ปรับปรุง 2560. โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กิตติศักดิ์ พ่วงช่อ. (2562). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 8 (1), 67-76.
จาตุรนต์ มหากนก. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่ เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะพลศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). ห้องเรียนกลับด้าน : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6 (2), 171-181
เชรษฐรัฐ กองรัตน์. (2565). ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom): การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคความปกติถัดไป(Next Normal). วารสารราชพฤกษ์์. 20 (2), 1-15.
ณัฐวรรธน์ สถิราวิวัฒน์, อำนวย สอิ้งทอง, จุฑามาศ บัตรเจริญ, & สมบัติ อ่อนศิริ. (2561). แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับวิชาพลศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 6 (1), 79-92.
ตะวัน รุ่งแสง & เมษา นวลศรี. (2564). การพัฒนาความความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ เรื่อง ระบบนิเวศ. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (7), 47-61.
วราพร บุญมี. (2564). สื่อการสอนกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7 (9), 373-386.
สมปอง ดีลี และวิโรจน์ อินทนนท์. (2563). การวิเคราะห์แนวคิดและหลักปฏิบัติงานด้านพัฒนาคุณภาพนักศึกษาของกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามแนวคิดปฏิบัตินิยมของ จอห์น ดิวอี้. วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัญญาและศาสนา. 16 (1), 1-29.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). กระทรวงศึกษาธิการ:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุริยะ หาญพิชัย. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มในรายวิชาสถานการณ์โลกปัจจุบัน. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 4 (1), 15-25.
Custodio, N. F., & Pintor, M. D. (2021). Empirical didactic experience about flipped classroom on Physical Education area. Retos (Madrid), 42, 189-197.
Ferriz-Valero, A., Østerlie, O., García-Martínez, S., & Baena-Morales, S. (2022). Flipped Classroom: A Good Way for Lower Secondary Physical Education Students to Learn Volleyball. Education sciences. 12 (1), 26.