สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

Main Article Content

ภัสศร สมทรัพย์
ปัทมา แคนยุกต์
สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี

บทคัดย่อ

          ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพสามารถบริหารโรงเรียนให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายโรงเรียน ซึ่งก่อให้เกิด สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช  2) เปรียบเทียบสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราชจำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา วิทยฐานะ ตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร  ขนาดโรงเรียน และ 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบ One - Way ANOVA กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2565 จำนวน 122 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยคือ แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง .80 – 1.00 และ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ ค่าความแปรปรวน และทำการทดสอบรายคู่โดยการเปรียบเทียบความแตกต่าง Fisher’s Least - Significant Difference (LSD)
          ผลการวิจัยพบว่า
          1) ผู้บริหารมีสมรรถนะการบริหารโรงเรียนทั้งในสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงานโดยรวมอยู่ในระดับมากอย่างยิ่ง ทั้ง 8 ด้าน คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการบริการที่ดี ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์  ด้านการสื่อสารและจูงใจ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการมีวิสัยทัศน์
          2) ผู้บริหารที่มีเพศชายมีสมรรถนะในการบริหารโรงเรียนสูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ ส่วนผู้บริหารที่มีอายุ ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา วิทยฐานะ ประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร และขนาดโรงเรียน มีสมรรถนะในการบริหารโรงเรียนไม่แตกต่างกัน
          3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่า ปัญหาผู้บริหารมีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีน้อย ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาการและเทคโนโลยีในการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง  ควรพัฒนาตนเองและพัฒนาสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ เน้นการบริหารจัดการองค์กร จัดให้มีการอบรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรได้อย่างไร้ขีดจำกัด  ควรส่งเสริมและพัฒนาการใช้นวัตกรรมทางการบริหารและนิเทศติดตามงานอย่างต่อเนื่องและควรส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร แสนสุข. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชาตรี โพธิกุล. (2552). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. รายงานการศึกษาอิสระปริญญา ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐนิชา คงประดิษฐ์ และ ปรีชา คำมาดี. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อขับเคลื่อนในยุคไทยแลนด์ 4.0. ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชนูปถัมภ์.

นลพรรณ ศรีสุข. (2558). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

นิธิ เรืองสุขอุดม. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 9 (4), 201).

ภคินี มีวารา. (2560). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอ่างทองตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. วารสารบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์.

ภัคจิรา ผาทอง. (2563.) สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ภัคชานันท์ รูปโลก. (2556). สมรรถนะการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา. ยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

เสกสรรค์ สนวา. (2560). หลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ว่าด้วยมิติเชิงพุทธ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม มิติสุขภาพ มิติการศึกษา และมิติทางการเมือง. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). รวมกฎหมายกฎระเบียบการบริหารงานบุคคลด้านกฎหมายของขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการขาราชการครูและบคลากรทางศึกษา.

หทัยพัชร ทองเดช. (2560). การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสหวิทยาเขตบูรพาสระบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุทัย ภักดีประยูรวงศ์. (2556). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เอกชัย มดแสง และธีระพงศ์ บุศรากุล. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย .

Krejcie, R. V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Pychological Measurement. 30 (3), 607-610.

Scott, G. (2005). Educator perceptions of principal technology leadership competencies. Unpublished doctoral dissertation, University of Oklahoma.