การศึกษาทางไกลในยุคดิจิทัลสำหรับมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา

Main Article Content

ปิยะ ศักดิ์เจริญ
ชุมพล มากทอง
อธิปวัฌณ์ อมรปัญญานันท์

บทคัดย่อ

          การจัดการศึกษาทางไกลเป็นแนวคิดหนึ่งในการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปยังประชาชนที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงระบบการศึกษาที่รัฐได้จัดไว้ให้ อันมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อม หรือตัวบุคคลเอง แนวคิดในการจัดการศึกษาทางไกลจึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเติมเต็มช่องว่างดังกล่าวผ่านรูปแบบการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นและแตกต่างไปจากระบบการศึกษาที่คุ้นเคย ทั้งในระดับพื้นฐานการศึกษา และระดับอุดมศึกษา โดยในระดับพื้นฐานการศึกษาจะจัดการศึกษาทางไกลผ่านการศึกษาผู้ใหญ่ในอดีต หรือการศึกษานอกระบบโรงเรียน ส่วนระดับอุดมศึกษาจะจัดการศึกษาทางไกลผ่านมหาวิทยาลัยเปิดและมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา รวมถึงมหาวิทยาลัยปิดเองก็มีการจัดการศึกษาทางไกลในระดับหลักสูตรด้วยเช่นกัน การเปิดโอกาสทางการศึกษาให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาได้เช่นนี้จึงเป็นรากฐานของแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งการศึกษาไม่จำเป็นต้องอยู่ในชั้นเรียนอีกต่อไป การศึกษาตลอดชีวิตครอบคลุมการจัดการศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษเข้ามาอีกด้วยโดยใช้เวลาระยะอันสั้นเพื่อเรียนรู้จนเกิดเป็นทักษะที่สามารถปฏิบัติงานหรือจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ได้ ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลและความครอบคลุมของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่กระจายไปทั่วในทุกพื้นที่ของประเทศไทย รวมทั้งมีราคาค่าใช้จ่ายที่ประชาชนทุกคนสามารถจับต้องได้ทำให้การเรียนรู้ทางไกลเป็นที่นิยมมากขึ้น มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้การจัดการศึกษาทางไกลควบคู่กับการจัดการศึกษาในชั้นเรียน จนเกิดเป็นนิยามของการจัดการศึกษาแบบตลาดวิชาขึ้น และในยุคดิจิทัลที่หลายสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นนี้ มหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาแห่งเดียวของเมืองไทยจะต้องปรับตัวเช่นไรถึงจะอยู่รอดได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2558). โครงสร้างระบบการศึกษาทางไกลและรูปแบบการศึกษาทางไกล. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการศึกษาทางไกล. หน้า 2-39 ถึง 2-43.

ทริปเปิ้ล อินโนเวชั่น. (2564). Streaming (สตรีมมิ่ง) คืออะไร และทำกันยังไง. เข้าถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2566. จาก: https://www.liveforsound.com/what-streaming-is/

ธงชัย หอนอก. (2560). ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand). เข้าถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2566. จาก: https://www.gotoknow.org/posts/626767

ธนัทณัฏฐ์ ฉัตรภัครัตน์ และชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์. (2561). สื่อวิดีโอแบบปฏิสัมพันธ์สำหรับการเรียนการสอนทางไกลด้วยโปรแกรม H5P. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. 13(15): 27–38.

นรินธน์ นนทมาลย์. (2561). วิดีโอปฏิสัมพันธ์ในการเรียนแบบเปิดในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46(4): 211-227.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2560). ตำรากระบวนวิชา VNC 2203 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานอกระบบโรงเรียน. กรุงเทพมหานครฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2565). การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(12), หน้า 261-287.

เพียงฤทัย พุฒิคุณเกษม และ ชนากร ปรีชา. (2564). สมรรถนะสำคัญสำหรับผู้สอนออนไลน์ในการจัดการศึกษาทางไกล. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(8): 373-384.

รอบรั้วรามฯ. (2566). ข้อมูลการรับสมัคร ปริญญาตรีภาคปกติ ส่วนกลางปีการศึกษา 2566. เข้าถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2566. จาก: https://www.aroundram.com/courses/bachelor/reg/central

สุมาลี สังข์ศรี. (2549). การศึกษาทางไกล. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัญชลี วิมลศิลป์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยตลาดวิชา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 12(1): 31-45.

Evelyn learning systems. (2023). Video Learning Styles: An Introduction. Access On 9 May 2023. From: https://www.evelynlearning.com/video-learning-styles-an-introduction/

Johansen, R. (1991). Leading Business Teams: How Teams Can Use Technology and Group Process Tools to Enhance Performance. Netherlands: Addison-Wesley.

Moore, M. G., Kearsley, G. (2011). Distance Education: A Systems View of Online Learning. United States: Cengage Learning.

Taylor, JC. (2001). Fifth Generation Distance Education. Access On 9 May 2023. From: http://www.c3l.uni-oldenburg.de/cde/media/readings/taylor01.pdf