มาตรการทางกฎหมาย ในการป้องปรามและปราบปราม การทวงถามหนี้ ที่ใช้ความรุนแรงอันเป็นความผิดต่อกฎหมาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการป้องปรามและปราบปราม การทวงถามหนี้ที่ใช้ความรุนแรงอันเป็นความผิดต่อกฎหมายได้นำแนวคิดทฤษฎีของกฎหมายเกี่ยวกับการยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้มาเป็นแนวทางการวิจัย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเอกสารกฎหมาย การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ เจ้าหน้าที่สืบสวนและสวบสวน พนักงานอัยการ ผู้พิพากษา ผู้เคยประกอบอาชีพรับติดตามทวงถามหนี้และผู้ได้รับความเสียหายในคดีทวงถามหนี้ ผลวิจัยพบว่า สาเหตุที่ผู้กระทำผิดทวงถามหนี้ ด้วยความรุนแรงเกิดจากความไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย แม้พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ควบคุมการทวงถามหนี้ ของผู้ที่ใช้ความรุนแรง การทวงหนี้ที่เป็นเท็จ ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท แต่ผู้กระทำผิดไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ต่อมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะมีคำสั่งเรื่องศูนย์ปราบปราม การกระทำผิดกับลูกหนี้นอกระบบไว้โดยเฉพาะ แต่ก็มิได้ป้องกัน และปราบปรามผู้กระทำผิดได้ ส่วนพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กำหนดมูลฐานความผิด กลับพบว่าไม่ตรงกับพฤติกรรม ของผู้กระทำผิดว่าด้วยการทวงถามหนี้ จึงเห็นควร นำมาตรการยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์ ผู้กระทำผิดการทวงถามหนี้ที่ใช้ความรุนแรง นำมาบังคับใช้เพื่อประโยชน์ ต่อการป้องปรามและปราบปรามให้ผู้กระทำผิดเกิดความเกรงกลัว ต่อการถูกยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์ และลดพฤติกรรมการทวงถามหนี้ที่ใช้ความรุนแรงในสังคม
Article Details
References
ประชาชาติธุรกิจ. (2565). สถิติรับแจ้งความ “หนี้นอกระบบ” เกินพันเรื่อง ปล่อยกู้ออนไลน์สูงสุด. ออนไลน์.
สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2565. แหล่งที่มา https://www.prachachat.net/general/news-934375
ปวริศร เลิศธรรมเทวี .(2564). นิติปรัชญาว่าด้วยการวิเคราะห์กฎหมายในเชิงเศรษฐศาสตร์: บทวิเคราะห์เบื้องต้น.วารสารกฎหมาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 39 (1), 144-157
ปกรณ์ มณีปกรณ์ ผศ.พิเศษ พ.ต.อ. ดร. (2555). ทฤษฎีอาชญาวิทยา. กรุงเทพ: เอ็ม ที เพรศ.
ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ. (2551). กฎหมายอาชญากรรมทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://siriphonku.wordpress.com/2008/ 08/27/% E0%B8%81%
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2563). คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 547/2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: http://www.bpp.go.th/documents/2564/25640520_01.pdf
อัจฉรียา ชูตินันทน์. (2564). ในหลักการกำหนดความผิดอาญาและหลักการกำหนดโทษอาญาในการตรา กฎหมาย. วารสารสุทธิปริทัศน์. 35 (3), 34-38
อรุณี ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์. (2555). ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่กำหนดอาญากรรม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ วันที่ 28 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: http://eco.ku.ac.th/qa56/ong4/4.1-2-4(1)Arunee.pdf
John Stuart Mill. (1863). On Liberty (Boston: Ticknor and Fields, p. 23KOREA LAW,พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบการลงโทษทางอาญา, AML/CFT, Act No. 12842, Nov. 19, 2014. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://elaw.klri.re.kr/ elaw.keng_service/lawView.do?lang=ENG&hseq=32731
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis. An expanded 'sourcebook (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sa e Publications
Toolshero. (2015). ทฤษฎีแรงจูงใจของแมคเคลลแลนด์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2565. แหล่งที่มา https://www.toolshero.com/psychology/mcclelland-theory-of-motivation/
USC. (2553). CHAPTER 41,SUBCHAPTER V: แนวทางปฏิบัติในการทวงถามหนี้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://uscode.house.gov/view.xhtml ?path =/prelim@title15/chapter41/subchapter5&edition=prelim