รูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ภายใต้การลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

สมพร บุญศรีนุกุล
วิชญานัน รัตนวิบูลย์สม
กฤชชา ยาวิเศษ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขั้นตอนการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดสงขลา  2) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดสงขลา  3) ศึกษาปัจจัยความเสี่ยงและปัญหาที่เกิดจากการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งส่งผลต่อสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดสงขลา  4) เสนอรูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงภายใต้การลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เกี่ยวข้องกับการลักลอบน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ยินดีให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ราย และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม ประชากรทั้งหมดเป็นผู้บริหารสถานีบริการ จำนวน 268 ราย จากนั้นสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานีบริการ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นบันทึกการสังเกตการณ์ แบบสอบถาม และบันทึกการสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การสร้างทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory), สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) วิธีการและขั้นตอนการลักลอบทางด่านชายแดนจังหวัดสงขลาทำได้ง่ายเกินไปและมีหลายปัจจัยที่เอื้อเฟื้อให้เกิดการลักลอบ 2) ขั้นตอนของการบริหารความเสี่ยงตามหลักการของ COSO สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล 3) รูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดสงขลาที่ค้นพบเป็นรูปแบบที่ประยุกต์ใช้อย่างได้ผลมี 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) การเพิ่มรายได้ใหม่และรักษารายได้เดิม (2) การบริหารสัมพันธภาพ (3) การยกระดับมาตรฐานการให้บริการที่เหนือความคาดหวัง (4) การพัฒนาศักยภาพให้เป็นมากกว่าสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และ     (5) การประชาสัมพันธ์ที่ลูกค้าต้องการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรพร สุเมธีประสิทธิ์, มัทธนา พิพิธเนาวรัตน์ และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: McGrawHill Education.

สำนักงานจังหวัดสงขลา. (2565). ข้อมูลจังหวัดสงขลา 2565. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สงขลา: สำนักงานจังหวัดสงขลา.

สำนักงานสถิติจังหวัดสงขลา. (2565). รายงานสถิติจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2565. สงขลา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

หทัยชนก จรณะ. (2550). Protect Business Risks Strategy : บริหารกำไรให้ธุรกิจ ปิดตายทุกช่องทาง ความเสี่ยง. กรุงเทพมหานคร: ไอเอ็มบุคส์.

Akbar Varavayi and Mohammad SayyadShirkesh. (2015). Factors Affecting Fuel Smuggling and Ways to Prevent It (Case Study: GhasreshirinDistrictBorder, in 2014). Journal of Applied Environmental and Biological Sciences.

Anthony E. Davis and Peter R. Jarvis. (2007). Risk Management Survival Tools for Law Firms. Second edition. ABA Publishing. Chicago, Illinois

Engle, P. (2009). “Enterprise risk management time.” Industrial Engineer. 41 (5), 20-21.

Hofmann, M. A. (2009).“Interest in enterprise risk management is growing.” Business Insurance. 43 (18), 14-16.

Garuba Dauda S. (2010). Trans-Border Economic Crimes, Illegal Oil Bunkering and Economic Reforms in Nigeria. Policy Brief Series, No. 15 October.

Michel Crouhy, Dan Galai and Robert Mark. (2006). The Essentials of Risk Management. McGraw-Hill.

Ntlhane KE. (1995). The application of risk management principles to smaller enterprises. Masters of Thesis in Business Administration, University of the Witwatersrand.