การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ณฐิดา เหล็กชัย
วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์
อัจฉรา นิยมาภา
สุพจน์ เกิดสุวรรณ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดทักษะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดทักษะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดทักษะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 400 คน มีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตัวแปร 20 ตัว ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.96 ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมา จำนวน 400 ฉบับ สถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
          ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษากรอบแนวคิดทักษะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วยทักษะ 3 องค์ประกอบดังนี้ 1) ทักษะความเป็นผู้นำด้านการสอน 2) ทักษะการจัดการบุคลากร และ 3) ทักษะการจัดการทางการเงิน 2. ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดทักษะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 17 ตัวชี้วัด ดังนี้ 1) ทักษะความเป็นผู้นำด้านการสอน มี 8 ตัวชี้วัด 2) ทักษะการจัดการบุคลากร มี 6 ตัวชี้วัด 3) ทักษะการจัดการทางการเงิน มี 3 ตัวชี้วัด และ 3. ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดทักษะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความกลมกลืน คือ Chi-Square = 85.95,  df = 80,  P-Value = 0.3043, GFI = 0.98, AGFI = 0.95 และRMSEA = 0.014 แต่ละองค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.91 - 1.00 แต่ละตัวชี้วัดขององค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.26 – 0.93

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษ ที่ 21, 28 กรกฎาคม 2559. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions ในเด็กวัย 13-18 ปี สำหรับพ่อแม่และครู. กรุงเทพมหานคร: ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท์ จำกัด. 1 (1), 3-99.

ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 1 (1), 12-239.

Griffin, R. W. (2013). Management Principles And Practices. South-Western College Publishing, 11(1), 84-87.

Locke, E.A. & other. (1999). The Essence of Leadership : The Four Keys to Leading Successfully. New York : Lexington Books.

Marmon, Dora Heacker. (2002). Core competencies of professional service providers in federally funded education programs. United States Tennessee : The University of Tennessee.

Micheal Olarewaju Ogundele. (2015). Principals’ Administrative Skills for Secondary Schools in Plateau State, Nigeria. Nigeria. Asia Pacific Journal of Education, Arts and Sciences. (2) 1, 90-96.

World Competitiveness Center. (2021). IMD WORLD DIGITAL COMPETITIVENESS RANKING 2021. Online. Retrieved June 11,2022. From https://www.imd.org/ centers/world-competitiveness-center/rankings/world- competitiveness/ .