กระบวนการพัฒนาต้นแบบผ้าศรีลาวาจากใยเปลือกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง กระบวนการพัฒนาผ้าศรีลาวาจากใยเปลือกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการกระบวนการพัฒนาต้นแบบผ้าศรีลาวาจากใยเปลือกทุเรียนภูเขาไฟ จังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษาอัตลักษณ์และพัฒนาต้นแบบเครื่องแต่งกายจากผ้าใยเปลือกทุเรียนภูเขาไฟ และ 3) เพื่อประเมินคุณภาพการออกแบบเครื่องแต่งกายจากผ้าไหมใยเปลือกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการทำเส้นใย สามารถทำได้ทั้งใยไหม และใยฝ้าย อัตราส่วนของรังไหมและใยเปลือกทุเรียน 70 : 30 อัตราส่วนของใยฝ้าย: ใยเปลือกทุเรียน เท่ากับ 60 : 40 เส้นใยไหมเปลือกทุเรียนมีความแข็งแรงมากกว่าเส้นใยฝ้ายเปลือกทุเรียน คุณสมบัติเด่นของผ้าใยเปลือกทุเรียน คือ เส้นใยมีขนาดใหญ่ ทนต่อการฉีกขาด เป็นเส้นใยธรรมชาติ 100% สีติดทนไม่หลุดง่าย ส่วนการออกแบบและพัฒนาเครื่องแต่งกายมีองค์ประกอบสำคัญที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและแสดงถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ 1) คุณสมบัติของผ้า 2) พฤติกรรมผู้บริโภค 3) อัตลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ และ 4) งานหัตถศิลป์พื้นบ้านจังหวัดศรีสะเกษ ผลการประเมินคุณภาพของเครื่องแต่งกายทั้งหมด 4 รูปแบบ พบว่า ชุดรูปแบบสูทแฟชั่นได้รับความนิยมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยที่ 4.46 ตัดเย็บแบบแจ๊คเก็ตสูท ด้วยเนื้อผ้าพื้นบ้านที่ผสมผสานความแปลกใหม่ของใยเปลือกทุเรียน ตกแต่งลวดลายแส่วอัตลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษศรีสะเกษเพิ่มความสวยงาม และความแปลกใหม่ให้กับชุดสูทแฟชั่น มีพื้นผิวสัมผัสของเนื้อผ้าที่น่าสนใจ มีโทนสีส้มลาวา ย้อมจากดินภูเขาไฟในพื้นที่สวนทุเรียนภูเขาไฟ ใส่แล้วเย็นสบาย มีการซึมผ่านของอากาศได้ดี สวยงามน่าประทับใจ
Article Details
References
กิจติพงษ์ ประชาชิต. (2561). การสร้างแบรนด์และออกแบบโฆษณาดิจิทัลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภค. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10 (2), 296-297.
กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค (2563) . แนวคิดการนำมิติทางวัฒนธรรมสู่การออกแบบสร้างสรรค์ที่สับสน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 21 (2), 21-23.
ศิษฏ์ ลือนาม. (2555). การพัฒนาลวดลายตกแต่งบนเครื่องปั้นดินเผาห้วยวังนองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 7 (21), 44-45.
เสาวณีย์ อารีจงเจริญ และคณะ. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเส้นใยตะไคร้. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
อภิรัติ โสฬศ. 2555. การพัฒนาแป้งปั้นจากเปลือกทุเรียนสำหรับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
อาชัญ นักสอน. (2558). กระบวนการสร้างงานศิลปหัตถกรรมกับฝ้ายทอมือ "แสงดา บันสิทธิ์". ศิลปกรรมสาร. 10 (1), 215-216.
Rosliana Lubis. (2018). Characterization of durian rinds fiber (Durio zubinthinus, murr) from North Sumatera. AIP Conference Proceedings. 1 (3), 52–58.