ลิลิตพระลอ: การดำรงอยู่ การสืบทอด และการรับรู้ของเยาวชนในเขตภาคเหนือ

Main Article Content

ทรงภพ ขุนมธุรส
น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพการรับรู้ของวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอของเยาวชนในเชตภาคเหนือ และ 2) ศึกษาการสืบทอดและการดำรงอยู่ของวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอในเขตภาคเหนือ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชน ผู้ที่เกี่ยวข้อง และคนในท้องถิ่น ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์
          ผลการวิจัยพบว่า 
          1) จากการสำรวจสภาพการรับรู้ของวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอของเยาวชนในเชตภาคเหนือ พบว่า เยาวชนในเขตภาคเหนือรับรู้และเข้าใจวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอน้อยมาก รู้เฉพาะบางเรื่องบางตอน และไม่สามารถเล่าเรื่องได้ทั้งหมด เยาวชนในเขตภาคเหนือ ส่วนใหญ่เคยได้ยินตำนานเรื่องพระลอจากปราชญ์ชาวบ้าน และรู้จักวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอจากครูอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาไทย และส่วนใหญ่ไม่เคยอ่านวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ
          2) จากศึกษาการสืบทอดและการดำรงอยู่ของวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอในเขตภาคเหนือ พบว่า วรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอได้มาการสืบทอดและดำรงอยู่ในรูปแบบของตำนานและในหนังสือเรียนภาษาไทยที่นำวรรคทองในวรรณคดีเรื่องนี้มาสอนเรื่องฉันทลักษณ์เท่านั้น ทั้งนี้จากการสัมภาษณ์ครูอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาไทย คนในชุมชน และเยาวชนในเขตภาคเหนือ พบว่า ทุกคนต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ และตำนานเรื่องพระลอ เนื่องจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจและเชื่อว่าเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง โดยต้องการเรียนรู้ผ่านสื่อการสอนในรูปแบบสื่อวิดีโอ เพราะทำให้เข้าใจเรื่องราวได้ง่าย และไม่น่าเบื่อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2515). ลิลิตพระลอ. พระนคร: แพร่พิทยา.

กัลยา แจ้งกระจ่าง และอัควรรณ์ แสงวิภาค. (2566). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรและการรับรู้บรรยากาศในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ดจังหวัดระยอง. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8 (3), 1-16.

ฉวีวรรณ สุวรรณาภา และพัฒน์นรี อัฐวงศ์. (2559). ลิลิตพระลอ : การเสริมสร้างการเรียนรู้และจริยธรรมทางสังคม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 6 (1), 52-60.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2553). อ่านลิลิตพระลอ ฉบับวิเคราะห์และถอดความ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงรัฐ คงฤทธิ์ และเจษฎา นกน้อย. (2564). ความเชื่อโชคลางในสังคมไทยและความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ SMEs ของผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา. วารสารนาคบุตรปิทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 13 (3), 78-87.

นิยะดา เหล่าสุนทร. (2535). "ลิลิตพระลอ: การศึกษาเชิงประวัติ" พินิจวรรณกรรม. กรุงเทพมหานคร: แม่คำผาง.

พระชลญาณมุนี. (2565). ปรากฏการณ์ทางความเชื่อของคนไทยในยุคปัจจุบัน. วารสาร มจร. บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 8 (1), 179-198.

พิมพ์นภัส จินดาวงศ์. (2555). การดำรงอยู่ของพิธีบูชาเสาอินทขีล : การผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมและพุทธศาสนาในพิธีกรรมปัจจุบัน. วารสารไทยศึกษา. 8 (1), 19-39

พิณนภา หมวกยอด และคณะ. (2563). กระบวนการและรูปแบบเชิงจิตวิทยาของการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวต่างชาติที่ทำงานกับคนไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 8 (2), 19-39.

มารีณีย์ ซี่เลี่ยง และธนาธิป มะโนคํา. (2565). สื่อและกลวิธีในการสอนภาษาอังกฤษสําหรับเด็กประถมศึกษา.

Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (1), 404-416.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสอง จังหวัดแพร่. (2555). อุทยานลิลิตพระลอ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2565. แหล่งที่มา : https://www.banklangsong. go.th/travel_detail.php?id=216

อมรรัตน์ เปี่ยมดนตรี และศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2558). การใช้วรรณกรรมขุนช้างขุนแผนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสุพรรณบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8 (2), 544-555.