ปัจจัยและลักษณะสำคัญของสมรรถนะที่โดดเด่นของธุรกิจเครื่องเงินในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะสำคัญของสมรรถนะที่โดดเด่นของธุรกิจเครื่องเงินในประเทศไทย โดยศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องด้วยมุมมองฐานทรัพยากร ในเรื่องสมรรถนะที่โดดเด่น โดยในการศึกษานี้ เป็นการเก็บข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องเงิน ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่ใหญ่ และมีความดั้งเดิม เชิงวัฒนธรรม มีกระบวนการดำเนินงานทั้งการผลิตและการจำหน่าย โดยอาศัยเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 5 กิจการ จากการศึกษาพบว่าสมรรถนะที่โดดเด่นในมุมมองของผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องเงิน ได้แก่ การจัดการการผลิต การจัดการด้านการดำเนินงาน และ การจัดการตลาดและนวัตกรรม ซึ่งทำให้เกิดการบูรณาการทางด้านการผลิต ทั้งด้านความชำนาญ ทักษะ ทัศนคติของบุคคล ที่มีการสั่งสมมาจากวัฒนธรรมและค่านิยมความเชื่อประจำท้องถิ่นนั้น โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถจะผสานกันเป็นหนึ่งเดียวกัน และส่งผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงทำให้สมรรถนะที่โดดเด่นขององค์กรเป็นสิ่งที่ช่วยให้องค์กรมีจุดเด่นและดำเนินกิจการได้อย่างเหมาะสม
Article Details
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2563). ข้อมูลนิติบุคคล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: http://datawarehouse.dbd.go.th/juristic/index
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2554). แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562, จากhttp://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/Industrial %20Master%20Plan/National_Industrial_Development_Master_Plan.pdf
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สศช.เผยไทยพึ่งพาการส่งออกถึง 70.50% ของจีดีพี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. แหล่งที่มา: https://www.posttoday.com/ finance-stock/news/174301
ลักษณ์วรรณ พิมพ์สวัสดิ์. (2551). Dynamic Capabilities และ Distinctive Competenciesพื้นฐานแนวคิดยุทธศาสตร์ที่จะนำพาองค์การไปสู่การแข่งขันอย่างยั่งยืนในยุคทศวรรษสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Society). วารสารนักบริหาร. 28 (3), 34-38.
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ. (องค์การมหาชน). (2562). สถานการณ์การนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=4408 &pageid=1&read=true&count=true
สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.460.1.0.html
สุดารัตน์ อภิราชกมล และพัชนี ศิระตานนท์. (ม.ป.ป.). อุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินของไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564. แหล่งที่มา: http://utcc2.utcc.ac.th/academicweek_proceeding/ 2553/science/patchanee.pdf