การพัฒนาคู่มือนวัตกรรมชุมชน “แปลงผักสวนรูกุญแจ” ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

Main Article Content

พีรพัฒน์ พันศิริ
เกศินี ประทุมสุวรรณ
อรรถ อารีรอบ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาคู่มือนวัตกรรมชุมชนแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยการพัฒนานวัตกรรมชุมชนแบบมีส่วนร่วมบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนครปฐม โดยมุ่งเน้นเฉพาะประเด็นด้านกระบวนการพัฒนาเครื่องมือนวัตกรรมชุมชน ที่เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมวิจัย (ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ) ซึ่งถูกคัดเลือกจากตัวแทนผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมดในสองพื้นที่จำนวน 10 คน เข้าร่วมเพื่อพัฒนาเครื่องมือ โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ผลการถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาคู่มือนวัตกรรมชุมชน พบว่า การพัฒนาคู่มือเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมนั้น มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ประกอบด้วย
1) การออกแบบกระบวนการวิจัยและการสร้างเครื่องมือนวัตกรรมชุมชนต้องใช้กระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ โดยคณะนักวิจัยและผู้ร่วมวิจัยร่วมกันออกแบบกระบวนการวิจัย การเลือกพื้นที่ และการจัดกระบวนการวิจัย 2) การพัฒนาองค์ความรู้นวัตกรรมชุมชนเกี่ยวกับการทำแปลงผักและการออกแบบคู่มือนวัตกรรม บทบาทนำควรเป็นของผู้ร่วมวิจัย อาทิ ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตร ผู้นำชุมชน โดยคณะนักวิจัยควรปรับบทบาทเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก 3) การขยายผลการใช้นวัตกรรมชุมชนควรเริ่มจากกลุ่มผู้ร่วมวิจัย อาทิ ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร หมอดิน ผู้นำชุมชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2558). นวัตกรรมการพัฒนาสังคมและสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฉลาด จันทรสมบัติ และคณะ. (2554). การพัฒนาหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนวังจาน ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปุทม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบริหารและพัฒนา. 3 (2), 85-105.

ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา และอัชกรณ์ วงศ์ปรดี. (2563). พลิกโฉมฐานรากสังคมไทยด้วยนวัตกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 7 (2), 79-92

ญาณิศา เผื่อนเพาะ และประสพชัย พสุนนท์. (2563). นวัตกรรมชุมชนเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎ. 8 (2), 32-44.

Murray, R., Caulier-Grice, J. & Mulgan, G. The open book of social innovation. Online. Retrieved April 10, 2023. from: https://youngfoundation.org/wp-content/uploads/ 2012/10/The-Open-Book-of-Social-Innovationg.pdf, 2010.