การศึกษาทักษะการเขียน โดยใช้ SECI Model ในรายวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

บุษราภรณ์ อินทร์แสน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในชั้นเรียน (Action Research) โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบทักษะการเขียนหลังใช้ SECI Model ในรายวิชาภาษาอังกฤษกับเกณฑ์ร้อยละ 60 โดยใช้สถิติ t-test แบบ One sample ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 238 คน ที่ลงทะเบียนเรียนภาษาอังกฤษรายวิชา อ32102 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 4 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งสิ้น 80 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การสอนเขียนด้วยวิธี SECI Model และแบบทดสอบความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบอัตนัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
          ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการสอนเขียนด้วยวิธี SECI Model สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กระบวนการสร้างความรู้ SECI ทั้ง 4 ขั้นตอน คือ 1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) 2) การสกัดความรู้ฝังลึกเป็นความรู้ชัดแจ้ง (Externalization) 3) การรวมความรู้โดยจัดเก็บความรู้ชัดแจ้งอย่างเป็นระบบ (Combination) และ 4) การนำความรู้ชัดแจ้งนั้นมาปฏิบัติ (Internalization) ทำให้นักเรียนมีพัฒนาการการเขียนภาษาอังกฤษดีขึ้น โดยนักเรียนสามารถเขียนคำ ประโยคและเรียงความได้เป็นขั้นตอนจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ SECI Model การจัดกิจกรรมการเขียนเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน นักเรียนมีโอกาสได้คิด ทำงานร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บรรยากาศในการเรียนรู้เป็นไปอย่างผ่อนคลาย สามารถคิดได้อย่างอิสระ จึงส่งผลให้หลังการสอนด้วยวิธี SECI Model นักเรียนมีความสามารถด้านการเขียนสูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

ไพโรจน์ ชลารักษ์. (2551). การจัดการความรู้ : สังกัปทางทฤษฎี. นครปฐม : เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

สุจิตรา สิงหการ. (2555). เทคนิคการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 5 (1). 164-165.

เสาวภาคย์ ศรีโยธา. (2555). ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา, 2-3.

อธิปไตย โพแตง และ ชัยฤทธิ์โพธิสุวรรณ. (2559). การสะสมความรู้ในตัวคนเพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานของแรงงานในสถานประกอบการ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 26 (2) , 299-307.

Bennui, P. (2008). A study of L1 interference in the writing of Thai EFL students. Malaysian Journal of ELT Research. 4 (2), 72-102.

Harshim, Y. (1999). Is instruction design being use in module writing? British Journal of Education technology. 30 (4), 141-158.

Louie, A. C. (1944). Improving Composition for Secondary ESL Students through the Precess Approach Dissertation, Thesis (Education). San Francisco: San Francisco University. Photocopied. 86-90.

Muthuveloo, R., Shanmugam, N. and Teoh, A. P. (2017). The impact of tacit knowledge management on organizational performance: Evidence from Malaysia. Asia Pacific Management Review, 22, 192-201.

Nonaka, I., & Takeuchi, H. (1996). The knowledge creating company : How Japanese companies create the dynamics of innovation. Personnel Psychology, 118-119.

Shokrpour, N. Keshavarz N., and Jafari S. M. (2013). The effect of peer review on writing skill of EFL students. Khazar Journal of Humanities and Social Sciences. 1 (2), 24-35.