คำยืมที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554

Main Article Content

นนทิยา จันทร์เนตร์
จิรัฐิพร ไทยงูเหลือม

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ที่มาและจำแนกประเภทของคำยืมที่ปรากฏในพจนานุกรม   ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เอกสารที่ใช้ในการวิจัย คือ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554 เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกและแบบวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ที่มาจากบัญชีอักษรย่อและคำย่อที่ใช้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554 ผลการวิจัยพบว่า คำยืมที่ปรากฏในพจนานุกรม       ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 จำนวน 6,497 คำ วิเคราะห์ที่มา จำนวน 20 ภาษา จำแนกประเภทของคำยืมได้ 3 ประเภท ได้แก่ คำยืมที่ปรากฏรากศัพท์ จำนวน 1 ภาษา พบคำยืม 5,132 คำ แบ่งได้ จำนวน 20 ภาษา ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  คำยืมที่ปรากฏรากศัพท์จำนวน 2 ภาษา พบคำยืม 1,362 คำ จัดแบ่งภาษาที่เป็นรากศัพท์ ได้ 19 กลุ่ม ได้แก่ ภาษาเขมร-ภาษามลายู, ภาษาชวา-ภาษามลายู, ภาษาชวา-ภาษาสันสกฤต, ภาษาตะเลง-ภาษาเขมร, ภาษาตะเลง-ภาษาสันสกฤต, ภาษาทมิฬ-ภาษาบาลี, ภาษาทมิฬ-ภาษา-มลายู,  ภาษาทมิฬ-ภาษาสันสกฤต, ภาษาบาลี-ภาษาสันสกฤต, ภาษาบาลี-ภาษาอังกฤษ, ภาษาเปอร์เซีย- ภาษาอังกฤษ, ภาษาโปรตุเกส-ภาษาฝรั่งเศส, ภาษามลายู-ภาษาอิหร่าน, ภาษาละติน-ภาษาอังกฤษ,        ภาษาสันสกฤต-ภาษาอังกฤษ, ภาษาสันสกฤต-ภาษาฮินดี, ภาษาอาหรับ-ภาษาอังกฤษ, ภาษาฮินดู-         ภาษาเปอร์เซีย และภาษาฮินดี-ภาษามลายู และคำยืมที่ปรากฏรากศัพท์จำนวน 3 ภาษา  พบคำยืม 3 คำ จัดแบ่งภาษาที่เป็นรากศัพท์ได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ ภาษาบาลี-ภาษาสันสกฤต-ภาษาเขมร และภาษาบาลี-       ภาษาสันสกฤต-ภาษาอังกฤษ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ราชบัณฑิตยสถาน. (2493). คำนำพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ6 พฤศจิกายน 2564. แหล่งที่มา https://dictionary.orst.go.th/introduction.php

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2564. แหล่งที่มา https://dictionary.orst.go.th/notification.php

ลักขณา พรมพรรณนา. (2554). คำยืมภาษาตะวันตกในนวนิยาย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิริภัทร พรหมราช. (2551). พัฒนาการของคำยืมภาษาอังกฤษที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493, พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2542. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุชาติ พงษ์พานิช. (2552). เปรียบเทียบพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 : หมวดอักษร ก-ฆ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุนิตย์ เย็นสบาย. (2543). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาคาร.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย: ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลงการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.