การพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุภาคเหนือโดยใช้ภูมิปัญญาล้านนาเป็นฐาน : การบริโภค การทำการเกษตร และสื่อพิธีกรรม

Main Article Content

อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ
จิรวัฒน์ รักชาติ
สุรชัย ศรีนรจันทร์

บทคัดย่อ

          การเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะดีเป็นการช่วยยืดอายุและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุภาคเหนือโดยใช้ภูมิปัญญาล้านนาเป็นฐานในมิติของการบริโภค การทำการเกษตร และสื่อพิธีกรรม ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยจำนวน 110 คน ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน และพะเยา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และการวิจัยได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หมายเลข รหัส PYU_REC No.65/003
          ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุภาคเหนือใช้ภูมิปัญญาล้านนาในมิติของการบริโภค การทำการเกษตร และสื่อพิธีกรรม ในการพัฒนาสุขภาวะทางร่างกาย สุขภาวะทางจิตใจ สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางจิตวิญาณ  ด้วยการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ปลูกพืช ผักไว้รับประทานและปรุงอาหารด้วยตนเอง และมีหลักในการบริโภค ผู้สูงอายุใช้การทำเกษตรเป็นพื้นที่ในการออกกำลังกาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันผ่านการทำงานและการลงมือทำกิจกรรมที่ตนเองถนัด และใช้การทำการเกษตรเป็นพื้นที่ในการผ่อนคลายอารมณ์  ส่วนสื่อและพิธีกรรมผู้สูงอายุภาคเหนือยังคงยึดถือคติความเชื่อทางพุทธศาสนาและการนับถือผีที่มีส่วนให้คุณและให้โทษผ่านการทำพิธีกรรมที่ตนเองต้องมีส่วนร่วม  เช่น การสืบชะตา การส่งเคราะห์ การบูชาเทียน เป็นต้น รวมถึงการสร้างความรื่นเริงบันเทิงใจจากการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน ดังนั้นการมีกิจกรรมการส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะที่สอดรับกับภูมิปัญญาล้านนาของผู้สูงอายุก็จะช่วยเสริมให้ผู้สูงอายุยังคงเป็นผู้มีสุขภาวะที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ.(2564). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563.ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564.แหล่งที่มา http://www.dop.go.th/th/know/1/275

กรมอนามัย.(2562). คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรมอนามัย ภายใต้แนวคิดสุขเพียงพอ ชะลอชรา ชีวายืนยาว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563-2565.คณะกรรมการ Cluster กลุ่มผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

จิราภรณ์ อังวิทยาธร.(2563).ภาวะเครียดในผู้สูงอายุอีกปัจจัยนำไปสู่การเกbfโรคต่าง ๆ. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566. แหล่งที่มา https://www. goodlifeupdate.com/ healthy-body/seniorcare/181451.html.

ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ สุมาลี เลิศมัลลิกาพร ธานี แก้วธรรมานุกูล วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล และ ปิยวรรณ สวัสดิ์สิงห์.(2563). ภูมิปัญญาท้องถิ่น “ล้านนา” ในการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ:การศึกษานำร่อง.พยาบาลสาร, 47(1): 185-197.

พระอธิการสุชาติ จนฺทสโร อาภากร ปัญโญ ดิลก บุญอิ่ม.(2564). วิถีพุทธ:การพึ่งตนเองด้วยการปลูกพืชสวนครัวของผู้สูงอายุในภาคเหนือ.วารสารปัญญา,28(3):30-46.

พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2552). ชุมชนปฏิบัติทางด้านการเรียนรู้ : แนวคิด เทคนิค และกระบวนการ เรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒนา สุขประเสริฐ. (2558). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มะยุรี วงค์กวานกลม.(2561). ภูปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสังคมวัฒนธรรมอีสาน.วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี. : 140-148.

วรรัตน์ สุขคุ้ม.(2551).ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุมน้ำหนัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท (ภาควิชาพยาบาลศาสตร์) คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรัญญา มณีรัตน์ จันทกานต์ เหล่าวงษา กุลชา กุณาฟั่น สุทธิดา ไพศาล และขวัญฤทัย ลืมตื่น.(2560).พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ:กรณีศึกษาตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย.วารสารการวิจัยกาสะลองคำ,11(3)135-143.

วิรุฬห์ นิลโรจน์. (2558). ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งวิทยาการชุมชนเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพการศึกษานอกระบบ (หน่วยที่ 9, หน้า 9-1 ถึง 9-63, ปรับปรุงครั้งที่ 1). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศันสนีย์ กระจ่างโฉม. (2556). องค์ความรู้ด้านการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในกลุ่มชาติพันธุ์ไทยไทลื้อไทยยองและไทยใหญ่ภายใต้วัฒนธรรมล้าน.งานวิจัยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

สมหมาย เปรมจิตต์ ชัปนะ ปิ่นเงิน และศรีเลา เกษพรหม.(2550). ครอบครัวสบายสไตล์ล้านนา: วิถีชีวิตและการดูแลผู้สูงอายุ.สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่

สามารถ ใจเตี้ย. (2561). วัฒนธรรมสุขภาพล้านนาเพื่อการดูแลสุขภาพ.ธรรมศาสตร์เวชสาร,18(2): 240-248.

สามารถ ใจเตี้ยและณัทธร สุขสีทอง.(2563). ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเขตเมืองและข้อเสนอเชิงนโยบาย: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่.วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต,8(3): 581-591.

สุนี ศักดาเดช.(2549). อาหารท้องถิ่น.จันทบุรี:คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

อรทยา สารมาศ ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ ขนบพร แสงวรณิช.(2563). ศิลปะเป็นฐานด้วยการเล่าเรื่องจากภาพเพื่อสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ.วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต,8(1):1-15.

Haslam C, Steffens NK, Branscombe NR, et al. (2019). The importance of social groups for retirement adjustment: evidence, application, and policy implications of the social identity model of identity change. Soc Iss and Pol Rev,13: 93–124.

Kaewanun, C. (2018). Nutrition of the Elderly. AU Heritage Journal Science and Technology, 12(2): 112-119.

Lampinen P, Heikkinen RL, Kauppinen M, et al. (2006). Activity as a predictor of mental well-being among older adults. Aging Ment Health,10(5): 454–466.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L., and Parsons, M.A. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. 4th (ed). New Jersey: Pearson Education, Inc.

U.S. Department of Health and Human Services (USDHHS). (2000). Healthy People 2010 (Conference ed.). Washington, DC: U.S. Department of Health and Human Services.

Ulrich RS, Simons RF, Losito BD, et al. (1991). Stress recovery during exposure to natural and urban environments. J Env Psych,11: 201–230.

Wang D, MacMillan T. (2013). The benefits of gardening for older adults: a systematic review of the literature. Activ Adapt Aging, 37: 153–181.