การพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบออนไลน์วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่ส่งเสริมความสามารถในการเรียนด้วยตนเองและการบริหารเวลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

รติพร ตันมา
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนแบบออนไลน์วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการเรียนด้วยตนเอง และการบริหารเวลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ 75/75 และ 2) ทดลองใช้กิจกรรมการเรียนแบบออนไลน์วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการเรียนด้วยตนเอง และการบริหารเวลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนแบบออนไลน์วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการเรียนด้วยตนเอง และการบริหารเวลา แบบวัดความสามารถในการเรียนด้วยตนเอง แบบวัดความสามารถในการบริหารเวลา และแบบวัดความรู้เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าร้อยละ
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. กิจกรรมการเรียนแบบออนไลน์วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการเรียนด้วยตนเอง และการบริหารเวลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีองค์ประกอบ คือ แนวคิดพื้นฐานของกิจกรรม วัตถุประสงค์ของกิจกรรม เนื้อหาของกิจกรรม กิจกรรมการเรียนรู้ และ การวัดและประเมินผล โดยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.44) และมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 75.72/76.48 กิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งประยุกต์จากทฤษฎีการสร้างความรู้ ประกอบด้วย ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน (ขั้นที่ 1 การสำรวจ ขั้นที่ 2 การสร้างความรู้ และขั้นที่ 3 ขั้นนำความคิดไปใช้) และขั้นสรุป (ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล ขั้นที่ 5 ขั้นทบทวน)
          2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบออนไลน์วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการเรียนด้วยตนเอง และการบริหารเวลา มีความรู้เรื่องภัยพิบัติธรรมชาติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบออนไลน์วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการเรียนด้วยตนเอง อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 83.20)
         4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบออนไลน์วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการบริหารเวลา อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 83.20)


   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกนก ยงค์โภชน์. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์วิชาประวัติศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขากะลาวิทยาคม. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นาตยา ช่วยชูเชิด. (2563). ผลการใช้บทเรียนออนไลน์แบบสืบเสาะร่วมกับโปรแกรมมูเดิลสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สื่อนวัตกรรมและการศึกษาเชิงสร้างสรรค์. 3 (2), 52-64.

มลฤดี แพทย์ปฐม. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่มีต่อความสามารถในการบริหารเวลาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ทักษะแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2021. แหล่งที่มา: http://www.ops.moe.go.th/ops2017

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สุธิดา ปรีชานนท์. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นโครงงานเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตอำเภอจอมบึงจังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สุภาวดี ลาภเจริญ. (2563). การศึกษาระบบ E-Learning เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร สู่มาตรฐานระดับสากล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (1), 295–307.

Bliss, Edwin C. (1976, May). "Getting Thing", Reader's Digest. N.P.: n.p.

Cooper, Joseph D. (1952). How to More Done in Less Time. New York: Doubleday & Company.

Hochheiser, R. M. (1998). Time Management. New York: Barron’s Educational Series.

Hoffman, B., & Ritchie, D. (1998). Teaching and Learning Online: Tools, Templates, and Training. N.P.: n.p.

Kolb, D. (1984). Experiential Learning: Experience As The Source Of Learning And Development. N.P.: n.p.

S. F Smith, & C. M Smith. (1990). Personal Health Choices. U.S.A.: Jones and Bartlett Publication

Thornton, K. (2010). Supporting Self-Directed Learning: A Framework for Teachers. Online. Retrieved December 25, 2021, from http://www.dx.doi.org/10.5746/LEiA/ 10/V1/ A14/Thornton Tree Press.

Tinnamin. (n.d.). Retrieved June 11, 2021, from https://sites.google.com/site/tinnamin 5712612007/home

VARK - A Guide to Learning Styles. (n.d.). VARK - A Guide to Learning Styles. Retrieved June 11, 2021, from https://vark-learn.com

Williams, D., & Graham, C. R. (2010). Evaluating E-Learning. International Encyclopedia of Education. Retrieved June 11, 2021, from https://doi.org/10.1016/B978-0-08-044894-7.01643-2