การยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสำหรับเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ในจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

กชนิภา วานิชกิตติกูล
นาวา มาสวนจิก
ปิยะวรรณ ยางคำ
ธีระศักดิ์ เกียงขวา
อมร โททำ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นแนวคิดทางด้านความสามารถนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถทางนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความรวดเร็วในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และความได้เปรียบของผลิตภัณฑ์ที่จะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และ 2) เพื่อศึกษาการมุ่งเน้นการประกอบการ การมุ่งเน้นการตลาดและการมุ่งเน้นการเรียนรู้ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถทางนวัตกรรมที่นำไปสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรอัตลักษณ์พื้นถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม จากการคำนวณตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ และมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นำไปวิเคราะห์สำหรับการวิจัยนี้ จำนวน 226 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถทางนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ความสามารถทางนวัตกรรมกระบวนการ และความสามารถทางนวัตกรรมพฤติกรรม ความสามารถทางนวัตกรรมกลยุทธ์ส่งผลกระทบต่อความรวดเร็วในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในขณะที่ ความสามารถทางนวัตกรรมกระบวนการ ความสามารถทางนวัตกรรมตลาดและความสามารถทางนวัตกรรมกลยุทธ์ส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบของผลิตภัณฑ์ และความรวดเร็วในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบของผลิตภัณฑ์ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถนวัตกรรม พบว่า การมุ่งเน้นการประกอบการ การมุ่งเน้นตลาด และการมุ่งเน้นการเรียนรู้ ส่งผลกระทบต่อความสามารถทางนวัตกรรมตลาด ความสามารถทางนวัตกรรมกระบวนการ ความสามารถทางนวัตกรรมกลยุทธ์ และความสามารถทางนวัตกรรมพฤติกรรม  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2565 และแนวโน้มปี 2566. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.oae. go.th/assets/portals/1/fileups/bappdata/files/Outllok%202565_2566.pdf.

ชยนรรจ์ ขาวปลอด และทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร. (2018). การมุ่งการเรียนรู้ ความสามารถทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานทางธุรกิจของอุตสาหกรรมในประเทศไทย. WMS Journal of Management Walailak University. 7 (2), 87-96.

นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2019). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัย. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University. 13 (3), 181-188.

ปรารถนา หลีกภัย. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถทางนวัตกรรมของธุรกิจโรงแรม. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 12 (1), 11-21.

ปรารถนา หลีกภัย และเกิดศิริ เจริญวิศาล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถทางนวัตกรรมองค์กร. การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาสิลปากรระดับชาติ/นานาชาติ ครั้งที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 247-259.

ภัทรพล ชุ่มมี. (2565). นวัตกรรมการตลาดที่ส่งอิทธิพลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจเพื่อสังคม. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (12), 147-159.

สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2566-2570. มหาสารคาม : สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม.

อนุวัต สงสม. (2019). ผลของความสามารถทางนวัตกรรมที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา. Humanities, Social Sciences and arts. 12 (3), 821-835.

Alegre, J., Lapiedra, R. and Chiva, R. (2006). A measurement scale for product innovation performance. European Journal of Innovation Management. 9, 333-346.

Barney, J. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of Management. 17, 99-120.

Baruch, Y. (1999). Response rates in academic studies-a comparative analysis. Human Relations, 421-434.

Calantone, R. J., Randhawa, P. and Voorhees, C. M. (2014). Breakeven time on new product launches: An investigation of the drivers and impact on firm performance. Journal of Product Innovation Management. 13(1), 94-104.

Chen, C. J., and Wu, J. C. (2015). Promoting competitive advantage: The role of IT integration, trust and innovativeness. Paper presented at the Pacific Asia Conference on Information Systems (PACIS).

Collis, D. J., and Montgomery, C. A. (1995). Competing on resources: Strategy in the 1990s. Knowledge and Strategy. 73 (4), 25-40.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. and Anderson, R. E. (2010). multivariate data analysis 7th ed. New Jersey: Prentice Hall.

Hult, G.T.M., Hurley, R.F. and Knight, G.A. (2004). Innovativeness: Its antecedents and impact on business performance. Industrial Marketing Management. 33, 429-438.

Nunnally, J. C. and Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill.

Nybakk, E., Crespell, P., Hansen, E. and Lunnan, A. (2009). Antecedents to forest owner innovativeness: An investigation of the non-timber forest products and services sector. Forest Ecology and Management, 257, 608–618.

Rutherford, M. W. and Holt, D. T. (2007). Corporate entrepreneurship An empirical look at the innovativeness dimension and its antecedents. Journal of Organizational Change Management. 20 (3), 429-446.

Teece, D. J., Rumelt, R., Dosi, G., and Winter, S. (1994). Understanding corporate coherence: Theory and evidence. Journal of Economic Behavior & Organization. 23 (1), 1-30.

Wang, C. L. and Ahmed, P. K. (2004). The development and validation of the organisational innovativeness construct using confirmatory factor analysis. European Journal of Innovation Management. 7 (4), 303-313.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis third edition. New York: Harper and Row Publication.