การจับตัวของแป้งต่อแห้วในทับทิมกรอบ

Main Article Content

พรดารา เขตต์ทองคำ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์หาปริมาณ  อะไมโลสในแป้งมันสำปะหลัง และแป้งท้าวยายม่อม 2) ศึกษาปริมาณการใช้แป้งมันสำปะหลัง : แป้งท้าวยายม่อม : แป้งดัดแปร (modified starch) :- oxidized starch ในทับทิมกรอบ และ 3) ศึกษาคุณภาพทางประสาทสัมผัส โดยนำตัวอย่างแป้งมันสำปะหลังและแป้งท้าวยายม่อมที่ใช้ในการทดลองตรวจวิเคราะห์หาปริมาณอะไมโลส ทดลองทำทับทิมกรอบโดยตัวอย่างที่ 1, 2, 3 และ 4 ใช้สัดส่วนของแป้งมันสำปะหลัง : แป้งดัดแปร ในระดับต่าง ๆ ได้แก่ ร้อยละ 100 : 0, 95 : 5, 90 : 10 และ 85 : 15 ตามลำดับ ตัวอย่างที่ 5, 6, 7 และ 8 ใช้สัดส่วนแป้งมันสำปะหลัง : แป้งท้าวยายม่อม : แป้งดัดแปร ในระดับต่าง ๆ ได้แก่ ร้อยละ 50 : 50 : 0, 47.5 : 47.5 : 5, 45 : 45 : 10 และ 42.5 : 42.5 : 15 ตามลำดับ วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) และนำไปทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสกับผู้บริโภคทั่วไปจำนวน 100 คน สุ่มแบบบังเอิญ โดยวางแผนการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วยวิธีการทดลองแบบบล็อกไม่สมบูรณ์แบบสมดุล (Balanced Incomplete Block Design; BIB) ด้วยการให้คะแนนความชอบแบบ 7-point hedonic scale (1=ไม่ชอบมาก ถึง 7=ชอบมาก) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย F– test วิเคราะห์ความแปรปรวน One-way Analysis of Variance (ANOVA) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้วิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DMRT) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลองพบว่า การวิเคราะห์หาปริมาณอะไมโลสในแป้งมันสำปะหลัง และแป้งท้าวยายม่อม เท่ากับ 19.54 g./100 g. และ 19.24 g./100 g. ตามลำดับ ผลการศึกษาปริมาณการใช้แป้งมันสำปะหลังต่อแป้งท้าวยายม่อมต่อแป้งดัดแปร :- oxidized starch ในทับทิมกรอบ ตัวอย่างที่ 2 ใช้สัดส่วนแป้งมันสำปะหลัง : แป้งดัดแปร ร้อยละ 95 : 5 มีคะแนนปัจจัยคุณภาพด้านลักษณะปรากฏ กลิ่น ความใสของแป้ง การเกาะตัวของแป้ง และการยอมรับโดยรวม มากกว่าทุกตัวอย่าง โดยมีคะแนนเท่ากับ 6.04±0.91, 5.90±1.12, 5.97±1.00, 6.16±0.94 และ 6.20±0.82 ตามลำดับ รองลงมาคือตัวอย่างที่ 1 ใช้สัดส่วนแป้งมันสำปะหลัง : แป้งดัดแปร ร้อยละ 100 : 0 มีคะแนนเฉลี่ยด้านสี ความเหนียวของแป้ง ความนุ่มของแป้ง รสชาติ โดยมีคะแนนเท่ากับ 6.22±0.91, 5.90±1.10, 6.06±0.97 และ 6.14±1.03 ตามลำดับ ลำดับที่ 3 คือ ตัวอย่างที่ 3 ใช้สัดส่วนแป้งมันสำปะหลัง : แป้งดัดแปร ร้อยละ 90 : 10 มีคะแนนเฉลี่ยด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น ความใสของแป้ง การเกาะตัวของแป้ง ความเหนียวของแป้ง ความนุ่มของแป้ง รสชาติ และการยอมรับโดยรวม มีคะแนนเท่ากับ 5.88±0.98, 6.03±0.96, 5.70±1.16, 5.69±0.96, 5.79±1.21, 5.62±1.22, 5.76±1.24, 5.87±0.97 และ 5.89±1.00 ตามลำดับ ตัวอย่างที่ 1, 2 และ 3 ทุกปัจจัยคุณภาพไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยที่ทับทิมกรอบตัวอย่างที่ใช้สัดส่วน แป้งมันสำปะหลัง : แป้งท้าวยายม่อม : แป้งดัดแปร ร้อยละ 5, 10 และ 15 กลับมีแนวโน้มคะแนนเฉลี่ยลดลง เมื่อเพิ่มปริมาณร้อยละของแป้งดัดแปรมากขึ้น ในขณะที่ตัวอย่างที่ 5, 6, 7 และ 8 ทุกปัจจัยคุณภาพ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) และมีคะแนนเฉลี่ยลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณร้อยละของแป้งดัดแปรมากขึ้น เช่นเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กล้าณรงค์ ศรีรอต และ เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ. (2550). เทคโนโลยีของแป้ง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณรงค์ นิยมวิทย์ และอัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ. (2528). วิทยาศาสตร์การประกอบอาหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรดารา เขตต์ทองคำ. (2564). ทับทิมกรอบ การประกอบอาหารไทยและขนมไทย. เอกสารประกอบการสอน. ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2565). Oxidized starch / สตาร์ชออกซิไดส์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา ttps://www.foodnetworksolution.com/wiki/ word/4172/oxidized-starch.

พัชราภรณ์ แสงโยจารย์ และคณะ. (2465). สมบัติทางเคมี กายภาพ ของแป้งเท้ายายม่อม และสมบัติทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา http://ird.rmuti.ac.th/2015/files/2562/File/.

ไพโรจน์ วิริยจารี. (2545). การประเมินทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation). เชียงใหม่: คณะอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วนิดา เผอิญโชค และ จิรารัตน์ ทัตติยกุล. (2547) งานวิจัยเรื่อง การผลิตสตาร์ชมันสำปะหลังออกซิไดซ์-พรีเจลาติไนซ์เพื่อเป็นสารเพิ่มการเกาะติดในแป้งชุบทอด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565.แหล่งที่มา http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=45057.

นิรนาม. (2565). การรับรู้รส. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/การรับรู้รส.

สิทธิโชค ศรีโช. (2563). “ทับทิมลอยแก้ว” ขนมไทยสูตรลับตำรับญวน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://goodlifeupdate.com/healthy-food/199780.html

สุนัดดา โยมญาติ. (2565). แป้งอะไรใช้ทำขนม. สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท) สาขาชีววิทยา เขียนโดย biology. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา http://biology.ipst.ac.th/?p=3266.

อบเชย อิ่มสบาย. (2564). ทับทิมกรอบ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา https://Krua.co

Departmemt of Agriculture. (2004). In-house method TE-PH-201 based on Quality and Testing of Thai Hom Mali Rice, Departmemt of Agriculture : 2004. P.117-119.

Maningat, C. C., and Seib, P. A. (1992). Starch: Occurrence, isolation, and properties of Starch granules. In AACC Short Course. “Starch: Structure, Properties, and Food Uses.” December 3-4, 1992. Chicago.