ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อชุดเครื่องครัวสแตนเลสของ บริษัท ที.พี.เอ. โฮมคิทเช่น แอนด์ ฟู้ด จำกัด ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

วรรณลักษณ์ อภินาวิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการให้ความสำคัญส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อชุดเครื่องครัวสแตนเลสของบริษัท ที.พี.เอ โฮมคิทเช่น แอนด์ ฟู้ด จำกัด ของผู้บิโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ        2) ระดับการตัดสินใจซื้อชุดเครื่องครัวสแตนเลสของบริษัท ที.พี.เอ โฮมคิทเช่น แอนด์ ฟู้ด จำกัด ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และ 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อชุดเครื่องครัวสแตนเลสของบริษัท ที.พี.เอ โฮมคิทเช่น แอนด์ ฟู้ด จำกัด ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ลูกค้าของบริษัท ที.พี.เอ โฮมคิทเช่น แอนด์ ฟู้ด จำกัด ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 271 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการให้ความสำคัญส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อชุดเครื่องครัวสแตนเลสของบริษัท ที.พี.เอ โฮมคิทเช่น แอนด์ ฟู้ด จำกัด ของผู้บิโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการตัดสินใจซื้อชุดเครื่องครัวสแตนเลสของบริษัท ที.พี.เอ โฮมคิทเช่น แอนด์ ฟู้ด จำกัด ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการ ด้านบุคคล และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อชุดเครื่องครัวสแตนเลสของ บริษัท ที.พี.เอ โฮมคิทเช่น แอนด์ ฟู้ด จำกัด ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยทั้ง 7 ปัจจัย สามารถร่วมกันทำนายความคลาดเคลื่อนในการตัดสินใจซื้อชุดเครื่องครัวสแตนเลส ได้ร้อยละ 81.57

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นันท์นภัส สงวนวงษ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องครัวทันสมัยของคนในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรุตม์ ประไพพักตร์. (2556). ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทเครื่องครัวในเขตอําเภอเมือง จังหวัดระยอง. การศึกษาส่วนบุคคลปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

ศิวารัตน์ ณ ปทุม, สุรกิจ เทวกุล และปริญ ลักษิตานนท์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภคชั้นสูง. กรุงเทพมหานคร: แบรนด์เอจบุคส์.

สุนันทา จงจิตร์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออุปกรณ์ เครื่องครัวผ่านทีวีโฮมช็อปปิ้งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2550). การออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม สำหรับชุมชนในเขตภาคกลาง. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

เอกจิตต์ จึงเจริญ. (2553). กลยุทธ์บริหารการออกแบบสู่ความสําเร็จของธุรกิจยุคใหม่ Productivity Forum. วารสารบริหารธุรกิจ, 33(128).

Aaker, D. (1996). Building strong brand. London: The Free.

Blyth, W. S. (2008). Eneyelrpedia of poyenhology. London: Search.

Kotler, P., & Keller. (2009). Marketing management. New Jersey: PrenticeHall.

Zeithaml, E. J., Bitner, A. H., and Gremler, W.D. (2013). Basic marketing. Illinois: Ridchard D. Irwin, Inc.