การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะการทำงานเป็นทีมในรายวิชาการสืบเสาะและธรรมชาติทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานโดยการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน (2) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ (3) ศึกษาทักษะการทำงานเป็นทีมระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 24 คน สำหรับการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และจำนวน 12 คนสำหรับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กล้องบันทึกภาพวีดิทัศน์ชั้นเรียนแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะการทำงานเป็นทีม สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า (1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) กำหนดปัญหา 2) ทำความเข้าใจกับปัญหา 3) การดำเนินการศึกษาค้นคว้า 4) สังเคราะห์ความรู้ 5) สรุปและประเมินค่าคำตอบ 6) ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้รวมทั้งสิ้น 6 แผนการเรียนรู้ (2) จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผลการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยทั้ง 6 แผนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก โดยทักษะที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ทักษะการทดลอง ( = 4.22, S.D. = 0.06) และ (3) ผลการประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม พบว่ามีค่าเฉลี่ยทั้ง 6 แผนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ( = 4.02, S.D. = 0.22)
Article Details
References
กนกกาญจน์ บุดดี. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ
การสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
ธนกร อรรจนาวัฒน์. (2558). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์และการทำงานเป็นทีม
โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญารัตน์ รัตนหิรัญ. (2562). การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประภาภรณ์ พลเยี่ยม. (2560). การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคิมพิวเตอร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปรียานุช พรหมภาสิต. (2557). การจัดการความรู้เพื่อสร้างความรู้ในการพัฒนาการเรียนการสอนแบบ PBL หรือ Problem-Based Learning และ Project-Based Learning โดยการบูรณาการรายวิชาในหลักสูตรประจำปีการศึกษา 2557. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มาhttps://huso.kpru.ac.th/File/Academic/KM%20BOOK-57.pdf
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร. (2561). หลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2554 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2561). มุกดาหาร: โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร.
สมนึก ภัททิยณี. (2565). การวัดผลการศึกษา Educational measurement. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานส่งเสริมนวัตกรรม การเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา.
American Association for the Advancement of Science. (1970). Science a Process Approach Commentary for Teachers. AAAS, Washington D.C.