การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืช

Main Article Content

จินดา โพนะทา
อาริยา สุริยนต์
พิจิตรา ธงพานิช

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืช 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนในรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืชของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 24 คน สำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และกลุ่มเป้าหมายสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 8 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาการวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืช จำนวน 6 แผน แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กล้องสำหรับบันทึกภาพนิ่งและวีดีทัศน์ขณะนักเรียนทำกิจกรรมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 6 ครั้ง ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และนักเรียนมีพัฒนาการความสามารถในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากครั้งที่ 1ถึงครั้งที่ 6 สูงขึ้นจากระดับปานกลางถึงระดับมาก 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืชของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่าหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งฟ้า สินธุวงษ์ และสุลัดดา ลอยฟ้า. (2545). ปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. วารสารส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอน. 11 (1), 1-12.

คงศักดิ์ วัฒนะโชติ. (2558). กิจกรรมค่ายทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. บรัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2561). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

จิตรลดา พิศาลสุพงศ์ และคณะ. (2557). ภาพรวมการพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนาประเทศ. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 51 (1), 27-32.

ปรียานุช พรหมภาสิต. (2559). คู่มือการจัดการเรียนรู้ “Active Learning (AL) for HuSo at KPRU.

กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร. (2561). หลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2554 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2561). มุกดาหาร: โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร.

สมนึก ภัททิยณี. (2560). การวัดผลการศึกษา Educational measurement. (พิมพ์ครั้งที่ 11). ประสาน

การพิมพ์.

เสาวนีย์ เกิดด้วง. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อภิญญา มั่นคง และประเสริฐ ผางภูเขียว. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถ

ในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 7-8 ธันวาคม 2560.

American Association for The Advancement of Science. (AAAS). (1970). Science Process

Approach. New York : Comantary for Teacher. AAAS.

BSCS. (1997). Teacher’Guide BSCS Biology. A Human Approach. Kendell/Hunt Publishing Company.

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E model : A proposed 7E model emphasizes“transfer of learning and the importance of eliciting prior understanding. The Science Teacher, 70 (6), 56-59.

Shenker, J. I., Goss, S. A. and Bernstein, D. A. (1996). Instructor’s Resource Manual for Psychology : Implementing Active Learning in the Classroom. Online. Retrieved July 22, 2022. From : https://s.prych/ uiuic.edu/~jskenker/active.html