ความต้องการและแนวทางการใช้กิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

พรจันทร์ โลจนะศุภฤกษ์
วลัยนาสภ์ มีพันธุ์
กัลพฤกษ์ พลศร

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการกิจกรรมนันทนาการในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้กิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบ่งเป็น 2 ระยะ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยระแยก คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 400 คน ที่มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามความต้องการกิจกรรมนันทนาการ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยระยะที่ 2 เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย จำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการกิจกรรมนันทนาการ 5 อันดับแรก ได้แก่ เกมออนไลน์ (x̄ = 2.96) ฟังเพลง (x̄ = 2.84) เล่นดนตรี (x̄ = 2.84) แบดมินตัน (x̄ = 2.83) และดูหนัง/ละคร (x̄= 2.72) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความนิยมกิจกรรมประเภทเกมและกีฬามีค่าเฉลี่ยสูงสุด ((x̄ = 2.72) รองลงมา คือ ประเภทดนตรี (x̄ = 2.69) ประเภทท่องเที่ยว (x̄ = 2.68) ประเภทงานอดิเรก (x̄ = 2.64) และประเภทศิลปหัตถกรรม (x̄ = 2.46) ตามลำดับ แนวทางในการใช้กิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ 1) ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ 2) พัฒนาทักษะและความรู้ให้เข้าใจการใช้ชีวิตตลอดจนการเข้าสู่อาชีพ 3) เสริมพฤติกรรมสร้างสรรค์และเจตคติเชิงบวก 4) ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง 5) ส่งเสริมความเป็นพลเมืองและตระหนักในคุณค่าของผู้อื่น ตลอดจนสังคมและชุมชนที่อาศัย และ 6) นำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วลัยนาสภ์ มีพันธุ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Academic lecturer at The Promotion of Lifelong Learning for Society Development Division, Vocational Education Department, Faculty of Education, Kasetsart University.

References

เดือนเต็ม ไกรเทพ. (2560). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบูรณ์.

ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล. (2564). เราจะพัฒนาการศึกษาให้เยาวชนไทย พร้อมรับมือโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร?. สืบค้นจาก https://tu.ac.th/thammasat-lsed-expert-talk-educational-development

มูลนิธิยุวพัฒน์. (2565). การเรียนรู้ตลอดชีวิต. สืบค้นจาก https://www.yuvabadhanafoundation.org/th/ข่าวสาร/บทความทั่วไป/ทักษะ-การเรียนรู้-learning/

สุเมษย์ หนกหลัง. (2560: 201). ผลของโปรแกรมการศึกษานอกระบบด้วยกิจกรรมนันทนาการที่มีต่อการเผชิญความเครียดของวัยรุ่นตอนต้นในชนบท. กรุงเทพฯ: วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(3), 208.