การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

ช่อเอื้อง อุทิตะสาร
มารุต พัฒผล
ดนุลดา จามจุรี

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนขององค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏ ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 450 คน จากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง จำนวนนักศึกษาทั้งหมด 2,280 คน นักศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบวัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ แบบ 5 ระดับ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 40 ตัวชี้วัด
          ผลการวิจัย พบว่า โมเดลองค์ประกอบของการวัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้แก่ การออกแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ส่วนบุคคล การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การโค้ชเพื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยไค-สแควร์ ((χ2) =556.423, p=.198, df = 529  ค่าสถิติไคสแควร์สัมพัทธ์ (χ2/df) = 1.052 , GFI = .954  , RMR = .009 , RMSEA= .011 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1).

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.

ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการโค้ชและการดูแลให้คําปรึกษา

แนะนํา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูประถมศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครู. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน:สัดส่วนการ ผสมผสาน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา , 25(85) , 31-36.

พรรณภัทร แซ่โท้ว. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนวิชาคณิตศาตร์ของนักศึกษา

วิทยาลัยดุสิตธานี พัทยา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี , 13(2) , 294-306.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ครูในศตวรรษที่ 21. งานประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้

สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. 6 พฤษภาคม 2557. อิมแพค. กรุงเทพมหานคร: สสค.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น : เพ็ญพรินติ้ง.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2560). คนรุ่นใหม่กับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564. แหล่งที่มา http://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/FutureLearningPlatform/1127/.

วุฒิชัย ภูดี. (2563). การสอนคณิตศาสตร์ในยุคดิจิทัล วิธีการและเครื่องมือ. วารสารวิทยาศาสตร์และ

วิทยาศาสตร์ศึกษา, 3(2), 190-199.

วิโรจน์ ธรรมจินดา. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.

วารสารกาสะลองคำ, 9(2), 161-173.

สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง และไมตรี อินประสิทธ์. (2561). รูปแบบการสอนแนวใหม่สำหรับการวัด

ในรายวิชาคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; 8(3) , 118-127.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด. กรุงเทพ.

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์. (2562). โลกเข้าสู่ยุคทำลาย เพื่อเกิดใหม่ แข่งกันเสี้ยววินาที. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10

มกราคม 2564

แหล่งที่มา https://www.isranews.org/isranews-article/82547-news-825471.html.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสัมคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การ SEAC. (2019). Blended Learning เทคนิค “ผสม” การเรียนรู้ตามใจชอบ. ออนไลน์.

สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564.

แหล่งที่มา https://www.seasiacenter.com/insights/blended-learning.

อติพร เกิดเรือง. (2560). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุค

ดิจิทัล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง , 6(1) , 173-184.

อภิภา ปรัชพฤทธิ์. (2561) การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0.

วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก , 35(3).

.

Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate data analysis: a global perspective.

th ed. New Jersey: Pearson Education; 2010.

McClelland, David C. (1973) , “Testing for Competence rather than Intelligence.”

American Psychologist. Online. Retrieved January 1, 2021. from : www.ei.Haygroup.com.

Neufeld, B. & Roper, D. (2003). Coaching: A strategy for developing instructional c

apacity, promises and practicalities. Washington, DC: The Aspen Institute. Online.

Retrieved January 1, 2021. from : http://www.annenberginstitute.org/publications/reports.html.

Schumacker RE, Lomax RG. A beginner’s guide to structural equation modeling: SEM. New

York: Routledge; 2010.

SEAMEO INNOTECH. (2016). Success Competencies of Southeast Asian School Heads: A

Learning Guide. Quezon City: Seameo Innotech.

UNESCO. (2018). ICT Competency Framework for Teachers harnessing Open

Educational Resources. Online. Retrieved January 1, 2021. from : https://en.unesco.org/.