การพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 โดยการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ตามแนวคิดไฮสโคป ร่วมกับเทคนิค 5T สร้างวินัยเชิงบวก

Main Article Content

ณัฐธิชา เกษร
สิทธิพล อาจอินทร์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1   2. พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 1/3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายอนุบาลศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำนวน 12 แผน เวลา 12 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ประกอบด้วย แบบสังเกตพฤติกรรมครูและนักเรียน แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบประเมินทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ท้ายวงจร แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ท้ายวงจร และ3) เครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนทักษะการคิดเชิงบริหารที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 85.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 100.80 ระดับคะแนน ดี ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 190.00 ระดับคะแนนดี  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2546). แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 3-5 ปี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. นครปฐม: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลมหาวิทยาลัยมหิดล.

ปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2564). ทักษะสมอง EF ในโครงการพัฒนาวิทยากรกระบวนการ Executive Functions (EF). กรุงเทพมหานคร: บริษัท มติชน จ ากัด (มหาชน).

วรนาท รักสกุลไทย. (2551). การเปรียบเทียบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 3 แบบ. กรุงเทพมหานคร: รักลูก.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). นโยบาย และแผนการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

Durant. (2007). การสร้างวินัยเชิงบวก ความเข้าใจที่ถูกต้องและวิธีนำไปใช้โจน อี เดอร์แรนท์. กรุงเทพมหานคร: คีนมีเดีย (ประเทศไทย).

Isquith et al. (2014).5Executive Function and Emotion Regulation Strategy Use in Adolescents : Taylor and Francis Online

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The action research planner. Geelong: Deakin University Press.