กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลต่อ การตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ณัฐกานต์ สังขะทรัพย์

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดขอนแก่น (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของกระบวนการสู่การตัดสินใจใช้บริการ (5A) ต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดขอนแก่น และ (3) เพื่อเสนอกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดขอนแก่น


       เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้ที่เคยใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 450 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่  การวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม


       ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลทั้ง 5 ด้าน คือ การโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล การขายโดยใช้พนักงานผ่านสื่อดิจิทัล  การส่งเสริมการขายผ่านสื่อดิจิทัล การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัล และการตลาดทางตรงผ่านสื่อดิจิทัล อยู่ในระดับเห็นด้วย (2) กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับกระบวนการสู่การตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดขอนแก่นทั้ง 5 ด้าน คือ การรับรู้ การจดจำ การสอบถาม และการแนะนำบอกต่อในระดับมาก ส่วนการกระทำอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดขอนแก่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยในรายด้านการโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล การขายโดยใช้พนักงานผ่านสื่อดิจิทัล การส่งเสริมการขายผ่านสื่อดิจิทัล และการตลาดทางตรงผ่านสื่อดิจิทัล เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดขอนแก่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านกระบวนการสู่การตัดสินใจใช้บริการ โรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดขอนแก่นก็มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดขอนแก่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เช่นเดียวกัน โดยรายด้านการรับรู้  การจดจำ การสอบถาม และการกระทำเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดขอนแก่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชวรรณ เวชชพิทักษ์, อัฏฐมา บุญปาลิต และเกริกฤทธิ์ อัมพะวัต. (2564). กลยุทธ์การตลาด 5A และการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภค. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7 (3), 282-290.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). ข้อมูลชั่วโมงการใช้อินเตอร์เน็ตของคนไทย. ออนไลน์. สืบค้น 11 มิถุนายน 2565, แหล่งที่มา: https://www.twfdigital.com/blog/2020/ 04/thailand-Internet-user-profile-2019/

ธนสร กิรัมย์, ณัฐรินทร์ อุ่นอ่อน และฉัตรชัย พ่วงสุวรรณ. (2565). การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรม ผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวาย ในห้างสรรพสินค้า จังหวัดกรุงเทพมหานคร. Journal of Industrial Business Administration. 4 (1), 74-86

สำนักงานสถิติแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น. (2562). สถานพยาบาลที่มีเตียงผู้ป่วยรับไว้ค้างคืน จำนวนเตียง แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล และผู้ป่วย จำแนกตามประเภทสถานพยาบาล และสังกัด พ.ศ. 2561. ออนไลน์. สืบค้น26 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: http://khonkaen. nso.go.th/images/document/report/62/62-5.pdf

อรุโณทัย จันทวงษ์ และ สันติธร ภูริภักดี. (2561). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านธุรกรรมการค้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพลังเศรษฐกิจผู้หญิง กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(3), 2648-2664.

Cronbach, Lee J. (1984). Essentials of Psychological Testing. 1st ed. New York: Harper & Row.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W., (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

Meng Luo & Charunya Parncharoen. (2020). The Effect of Digital Integrated Marketing Communication on Sichuan Consumers’ Decision to Use WeChat Application. SUTHIPARITHAT JOURNAL. 34 (109), 123-133.